วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้: พหุกรณีศึกษาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 Developing Strategies of Rural Educational Administration for Evolutionary Learning: Multi-Case Study of Schools in Chaiyaphum Office’s Area Zone 1

การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้: พหุกรณีศึกษาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 Developing Strategies of Rural Educational Administration for Evolutionary Learning: Multi-Case Study of Schools in Chaiyaphum Office’s Area Zone 1
ชื่อผู้วิจัย (ภาษาไทย) * ดร.สมภาร ศิโล และคณะ (ภาษาอังกฤษ) Dr.Somphan Silo & others
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา (2) นำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีของท้องถิ่น และ (3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาตามแผนที่กำหนด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR) มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา เป็น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่จำนวน 4 แห่ง ของอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการศึกษาบริบทสถานศึกษาและท้องถิ่นด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการประชุมปฏิบัติการพัฒนายุทธศาสตร์ การดำเนินการตามแผนงาน และการประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ตามความต้องการด้านการศึกษาของแต่ละท้องถิ่น
ผลการวิจัย พบว่า (1) มีการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาทั้ง 4 พื้นที่วิจัย (2) มีการนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 พื้นที่การวิจัย และส่งผลให้มีจำนวนโครงการและปริมาณงบประมาณที่จัดสรรตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น (3) ผลการติดตาม และประเมินผลการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในภาพรวมสามารถดำเนินการพัฒนาได้ตามแผนที่กำหนด และผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอยู่ในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ส่วนสถานศึกษาเป็นฝ่ายเสนอโครงการและดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาด้านการศึกษา จึงเป็น ความร่วมมือที่ทุกฝ่ายได้มีพันธกิจสาธารณประโยชน์ทางการศึกษาร่วมกัน แต่การพัฒนาก็พบว่ามีอุปสรรคที่สำคัญคือ ข้อจำกัดของข้อระเบียบกฎหมายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นใน การสนับสนุนปัจจัยด้านงบประมาณ และบุคลากรต่อสถานศึกษาที่อยู่นอกสังกัดขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ: พัฒนายุทธศาสตร์/ บริหารจัดการศึกษา/ ปฏิรูปการเรียนรู้
ABSTRACT
The purpose of this study was to develop strategies, act projects, and evaluate plans of the rural educational administration for evolutionary learning in schools of Chaiyaphum office’s area zone 1. Participatory action research(PAR) was used and applied in a year during February 2007-march 2008 consisting of multiple case studies, stakeholders focus-group discussions, target in-depth interviews, workshop and survey method. There target group were 4 researched area of local organization and schools. The outcome of the study resulted aspects of (1) there were 4 strategy plans in 4 rural educational administration for evolutionary learning. (2) the strategy plans were implemented in local organizations, and there were educational projects more than last year plan. (3) a total results could doing plans in evaluated plans of the rural educational administration for evolutionary learning in schools of Chaiyaphum office’s area zone 1, and stakeholders were high satisfactory. The co-organization of strategy development was win-win that local organization concerned inputs in order to schools implemented educational initiatives. Thereby, the threat of development in educational administration for evolutionary learning was the budget and personnel laws of local organization
Key Words: Strategy Development/ Educational Administration/ Evolutionary Learning
บทนำ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการคณะกรรมการศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 และกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ มาตราที่ 37 มีสาระสำคัญในบทบัญญัติ ที่มุ่งการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สถานศึกษามีอิสระ มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน และสามารถจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชนมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในแต่ละพื้นที่ จนสามารถบรรลุเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพเพื่อปวงชนชาวไทย การบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้นั้นมีผลให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นมาขึ้นอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้ามามีบทบาทส่งเสริม สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพในตัวผู้เรียนที่เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น นำพาสังคมไปสู่ความเข้มแข็ง สันติสุข และก้าวหน้าต่อไป อย่างมั่นคง ยั่งยืน และส่งผลให้การบริหารและการจัดการศึกษาต้องใช้แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – based Management) ตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโรงเรียนจะมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ มีความอิสระ คล่องตัว และที่เด่นชัด คือ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ดังนั้น คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศชาติในปัจจุบันและอนาคตต่อไปนี้จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอง และการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นสำคัญ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546)
ต่อมากระแสการถ่ายโอนการจัดการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งเริ่มมีผลให้มีการประเมินสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระหว่าง พ.ศ. 2549 – 2552 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) ก่อให้เกิดการต่อต้านจากเครือข่ายและองค์กรครูทั่วประเทศ เป็นปัญหาความแตกแยกทางการศึกษาระหว่างบุคลากรทางการศึกษากับรัฐ หรือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือระหว่างองค์กรครูด้วยกันเอง ขาดเอกภาพทางการศึกษาของชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ได้มีการประท้วงต่อต้านเป็นวงกว้าง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะช่วงเริ่มต้นในการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่น และเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านจากการบริหารจัดการศึกษาในระบบโครงสร้างเดิม สู่ระบบบริหารจัดการใหม่ของเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับสถานศึกษา ระยะสองปีแรกในการวางระบบ วางคนและวางแนวทางการทำงาน จึงพบปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการ และอยู่ในระยะปรับตัวและสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่สำคัญสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลโดยบริหารจัดการภายใต้การกำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่อยู่ในระยะแรกเริ่ม ยังไม่เห็นผลดีผลเสียจากการปฏิรูปก็มีปัญหาใหม่ให้ต้องปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างในการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การต่อต้านจึงเกิดขึ้น (สมภาร ศิโล และคณะ, 2549)
การปฏิรูปการเรียนรู้ที่มุ่งสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ นั่นคือ เป้าหมายหลักของกระบวนการปฏิรูปการศึกษา แต่ปัญหาเชิงโครงสร้าง และปัญหาเชิงนโยบายยังขาดความเชื่อมโยงสู่เป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารการศึกษาของท้องถิ่นให้มีความชัดเจนเอื้อต่อการปฏิรูป การเรียนรู้ สร้างพลังสมานฉันท์ร่วมระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากหน่วยงานทางการศึกษาที่มี และท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษา จึงจำเป็นต้องเร่งปรับกระบวนทัศน์ สร้างภาพอนาคตทาง การพัฒนาการศึกษา และแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การศึกษาเป็นการพัฒนาท้องถิ่น และท้องถิ่นพัฒนาการศึกษาของบุตรหลานตนต่อไป ในการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ของสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงศึกษาธิการ(2546) จึงกำหนดให้ต้องดำเนินการโดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนให้เข้ามาผนึกกำลังเป็นภาคีความร่วมมือในการพัฒนา การบริหารจัดการศึกษา รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีบทบาทในฐานะเป็นผู้นำทางวิชาการ เพื่อปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะการปฏิรูปการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพในตัวผู้เรียน และเพื่อให้การศึกษาเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่น จึงต้องพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการศึกษาให้สนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาของท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีบทบาทต่อ การพัฒนาวิชาชีพครู (ราชกิจจานุเบกษา, 2547) จึงเห็นความสำคัญที่จะดำเนินการ โครงการวิจัย การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการของสถานศึกษา โดยภาคีความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และเขตพื้นที่การศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิรูปการเรียนรู้ มีพลวัต สามารถสนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และสนองตอบต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น จึงเสนอเพื่อดำเนินงานโครงการวิจัย การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ในปีงบประมาณ 2550 โดยมีพื้นที่การวิจัย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 สถานศึกษาในสังกัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของพื้นที่วิจัย
วัตถุประสงค์ 1. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมี ส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในท้องถิ่น อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2. นำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผน ปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาในท้องถิ่น อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 3. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาของสถานศึกษาในท้องถิ่น อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ตามแผนที่กำหนดร่วมกัน โจทย์การวิจัย โรงเรียนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการอย่างไร ให้มีการพัฒนายุทธศาสตร์ ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ที่เหมาะสม ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และมีพลวัต สามารถสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น และให้เอื้อต่อการปฏิรูป การเรียนรู้
คำถามการวิจัย br> 1. ท้องถิ่นพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่น ให้ เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาของท้องถิ่นโดยรวมได้อะไรบ้าง ? 2. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนจะมีกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์ด้าน การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ร่วมกันอย่างไร ?
วิธีการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ในการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ในสถานศึกษาท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ศึกษาบริบททั่วไปของสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่สถานศึกษากลุ่มเป้าหมายตั้งอยู่ โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) และดำเนินการศึกษาบริบทโจทย์วิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามลำดับ ดังนี้ 1. สัมภาษณ์เชิงลึก โดยเก็บข้อมูลกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และตัวแทนประชาชนในท้องที่ เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่วิจัยแต่ละแห่ง 2. เลือกโรงเรียนเพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัย โดยเลือกแบบเจาะจง ได้ โรงเรียน 4 โรง ได้แก่ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ โรงเรียนบ้านหัวนา และโรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 3. ศึกษาบริบทของโรงเรียนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดย การสนทนากลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน 4. ศึกษาวิเคราะห์ถึงบริบทโจทย์วิจัยของพื้นที่วิจัยตามสภาพปัญหาและความต้องการ ของแต่ละโรงเรียนแต่ละชุมชนในท้องถิ่นนั้น 5. จัดประชุมกลุ่ม และสนทนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็น ถึงสภาพปัญหาหรือ ความต้องการร่วมกัน การประเมินความต้องการ (Need Assessment) ในการพัฒนา หรือแก้ปัญหา ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารท้องถิ่น ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนนักเรียนและทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 6. นำความต้องการในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม เข้าเสนอต่อเวทีประชาคมของท้องถิ่น หรือจัดทำประชาพิจารณ์ตามความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นพื้นที่วิจัย เพื่อร่วมสะท้อนสภาพปัญหาปัจจุบันหรือความต้องการไปสู่สภาพที่ควรจะเป็นร่วมกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ เรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1” โดยใช้เครื่องมือ ดังนี้ 1.1 แบบสอบถาม 1.2 แบบสัมภาษณ์ 2. กระบวนการวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ 2.1 การจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้แทนชุมชน โดยร่วมสร้างแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนายุทธศาสตร์การศึกษา ภายใต้บริบทโจทย์วิจัยของโรงเรียนและท้องถิ่นนั้น 2.2 ร่วมประชาพิจารณ์แบบของการพัฒนาคืนสู่ชุมชน ร่วมรับทราบ วิพากษ์วิจารณ์ และปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 2.3 ร่วมวางแผนปฏิบัติการพัฒนาตามรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น 2.4 ร่วมดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 3. ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา 3.1 การประเมินรูปแบบ 3.2 การสนทนากลุ่ม 3.3 การสัมภาษณ์
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยดำเนินการดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะก่อนการวิจัย (Pre-Research Phase ) 1. สร้างสัมพันธภาพกับชุมชนพื้นที่วิจัย 2. สำรวจและศึกษาชุมชน 3. การคัดเลือกชุมชน 4. การเข้าหาชุมชน 5. การเตรียมคน และเตรียมเครือข่าย ประกอบด้วย การเตรียมนักวิจัย การเตรียม นักพัฒนา การเตรียมชุมชน และการเตรียมเครือข่าย ระยะที่ 2 ระยะวิจัย (Research Phase) 1. ศึกษาปัญหา และรวบรวมข้อมูลปัญหาการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา 2. การศึกษาบริบทชุมชน 3. การวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน 4. การพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ ระยะที่ 3 ระยะการจัดทำแผน (Planning Phase) ผู้วิจัยจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระดมความคิดเห็นในการสร้าง รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ระยะที่ 4 ระยะนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation Phase) ผู้วิจัยนำรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่ได้ไปใช้ และติดตาม ประเมินผล การใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา ในพื้นที่ดำเนินการวิจัย ระยะที่ 5 ระยะติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (Monitoring and Evaluation Phase) ผู้วิจัยจัดเวทีสะท้อนผลเพื่อสรุปผลการนำแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่ได้ ไปใช้ ระยะที่ 6 ระยะรายงานและนำเสนอผลการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ศึกษาบริบทในพื้นที่ดำเนินการวิจัย และศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษา วิเคราะห์ปัญหา โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูล ดังนี้ 2.1. แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับสภาพปัญหา และความต้องการการพัฒนายุทธศาสตร์ด้าน การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้สัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากร ดังนี้ 2.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา , 2.1.2 ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2.1.3 ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.1.4 กรรมการสถานศึกษา 2.1.5 ครู 2.1.6 นักเรียน 2.2 แบบสังเกต เกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้จากการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม 3. จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหาร จัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการระดมความคิดเห็นทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (ผู้บริหารการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, ผู้บริหารท้องถิ่น, ครูผู้สอน, คณะกรรมการสถานศึกษา, ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน) ในพื้นที่วิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูป การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่วิจัย 3.2 นำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูป การเรียนรู้ของท้องถิ่นสู่การปฏิบัติตามแผนงาน โครงการที่ร่วมกันกำหนดขึ้นในแต่ละพื้นที่วิจัย 4. แต่ละท้องถิ่นกำกับ ติดตามและประเมินผลการนำยุทธศาสตร์และแผนงานที่ได้ไปสู่ การพัฒนาในแต่ละพื้นที่วิจัย 5. จัดเวทีสะท้อนผล เพื่อสรุปผลการนำรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่นำไปใช้ 6. รายงานผลการวิจัย
ผลการวิจัย
จากการศึกษาในครั้งนี้ได้ผลสรุป พบว่า
1. มีการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาทั้ง 4 พื้นที่วิจัย ประกอบด้วย 1.1 องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนร่วมกับโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม 1.2 เทศบาลตำบลลาดใหญ่ร่วมกับโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ 1.3 องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้าร่วมกับโรงเรียนบ้านหัวนา 1. 4 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ร่วมกับโรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ 2. มีการนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 พื้นที่การวิจัย และส่งผลให้มีจำนวนโครงการและปริมาณงบประมาณที่จัดสรรตามแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น ประกอบด้วย 2.1 โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อน มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา กำหนดมาตรการและ แนวทางการพัฒนา ดังนี้
1) การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก 2) การพัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนการสอน 3) การพัฒนาคุณภาพครู ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติ และของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ส่งเสริม และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิต กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การสนับสนุนด้านทุนการศึกษา 2) การสนับสนุนด้านวัสดุ ครุภัณฑ์การศึกษา 3) การพัฒนาอาชีพ 4) การพัฒนาด้านสาธารณสุข 5) การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค 2.2 โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ร่วมกับเทศบาลตำบลลาดใหญ่ มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพชีวิต กำหนดมาตรการและแนวทาง การพัฒนา คือ การยกระดับคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 2 ร่วมมือพันธมิตรในการศึกษา กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การมีส่วนร่วมในการการพัฒนาการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 4 ฉลาดในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ดีงามในการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม 2.3 โรงเรียนบ้านหัวนาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 13 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม กำหนดมาตรการและแนว ทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ฝึกอบรมคนในชุมชน 2) ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 3) การอำนวยความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีให้แก่ชุมชน 4) การเตรียมความพร้อมของของเด็กก่อนปฐมวัยให้สอดคล้องกับแนว ทางการปฏิรูปการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) สร้างจิตสำนึกและประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน 2) ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ 3) ระดมความคิดเห็นบุคลากรในชุมชนร่วมกันจัดทำเอกสารแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กำหนดมาตรการและแนวทาง การพัฒนา ดังนี้ 1) การสร้างทัศนคติและค่านิยมบนพื้นฐานในการดำรงชีวิต 2) การรณรงค์ให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎกติกา ระเบียบกฎหมายอย่าง เคร่งคัด 2.4 โรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ มี แผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 7 ยุทธศาสตร์ รวมจำนวนโครงการในแผนปฏิบัติราชการ ทั้งสิ้น 21 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนวัยเรียน กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมประชาชนในวัยเรียนกลุ่มด้อยโอกาสทางการศึกษาได้รับ การศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อ 12 ปี 2) เพิ่มประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังและระบบให้ความช่วยเหลือ นักเรียน 3) กลุ่มเสี่ยงได้รับการศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย 4) ร่วมมือกับสถานศึกษาด้านอาชีวะเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุณธรรมนำความรู้และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ การปฏิบัติ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม 2) พัฒนาผู้เรียนด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 3) นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลสู่การจัดหลักสูตร สถานศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) พัฒนาระบบดูแลนักเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้สู่ชุมชน 2) ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น 2) อนุรักษ์และสืบสานศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ คือ ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปมีสุขภาพอนามัยที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ สร้างจิตสำนึก การปลูกฝังในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในภาพรวมสามารถดำเนินการพัฒนาได้ตามแผนที่กำหนด และผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอยู่ในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ส่วนสถานศึกษาเป็นฝ่ายเสนอโครงการและจัดกิจกรรมการดำเนินงานพัฒนาด้านการศึกษา จึงเป็นความมือที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในครั้งนี้พบว่ามีอุปสรรคที่สำคัญ คือ ข้อจำกัดของข้อระเบียบกฎหมายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนปัจจัยด้านงบประมาณ และบุคลากรต่อสถานศึกษาที่อยู่นอกสังกัดขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
อภิปรายผล
จากผลการวิจัยที่พบ ผู้วิจัยได้อภิปรายผลในรายประเด็น ดังนี้ 1. จากผลการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาทั้ง 4 พื้นที่วิจัย ประกอบด้วย 1.1 องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนร่วมกับโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม 1.2 เทศบาลตำบลลาดใหญ่ร่วมกับโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ 1.3 องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้าร่วมกับโรงเรียนบ้านหัวนา และ 1.4 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ร่วมกับโรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ นั้น เป็นการพัฒนาบริหารจัดการศึกษาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่ นับเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเชิงบูรณาการร่วมของหน่วยงานราชการในท้องถิ่นที่ร่วมมือถึงขั้นสนับสนุนงบประมาณข้ามกระทรวงเพื่อตอบสนองพันธกิจของทั้งโรงเรียนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในเขตบริการของทั้งสองส่วนราชการ โดยส่งผลให้เกิดยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ร่วมกันในท้องถิ่นและนำไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีร่วมกันอย่างต่อเนื่องถึงสามปี ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่มีนโยบายให้การพัฒนาทุกด้านของจังหวัดในเชิงบูรณาการร่วมของหลายหน่วยงานในต่างสังกัด การศึกษาครั้งนี้จึงสามารถตอบสนองพันธกิจทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการและพันธกิจด้านการบริการการศึกษาของกระทรวงมหาดไทยได้ในคราวเดียวกัน 2. จากการนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 พื้นที่การวิจัย และส่งผลให้มีจำนวนโครงการและปริมาณงบประมาณที่จัดสรรตามแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น ประกอบด้วย 2.1 โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อน มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ ดังนี้ โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก 2) การพัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนการสอน 3) การพัฒนาคุณภาพครู ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติ และของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ส่งเสริม และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิต กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การสนับสนุนด้านทุนการศึกษา 2) การสนับสนุนด้านวัสดุ ครุภัณฑ์การศึกษา 3) การพัฒนาอาชีพ 4) การพัฒนาด้านสาธารณสุข5) การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค จากเดิมที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนจะรับผิดชอบจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด ในความร่วมมือครั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนได้สนับสนุนงบประมาณด้านการบริหารจัดการศึกษาเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 ต่อโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม ซึ่งเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ โดยมุ่งเน้นที่ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา คุณธรรมจริยธรรม แหล่งเรียนรู้ชุมชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น จึงเป็นความร่วมมือในทางยุทธศาสตร์และงบประมาณที่สูงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สะท้อนความสำเร็จของท้องถิ่นในการมีส่วนร่วม การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2.2 โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ร่วมกับเทศบาลตำบลลาดใหญ่ มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพชีวิต กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การยกระดับคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 2 ร่วมมือพันธมิตรในการศึกษา กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การมีส่วนร่วมในการการพัฒนาการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 4 ฉลาดในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ดีงามในการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม เป็นความร่วมมือที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างพันธมิตรความร่วมมือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรม โดยเทศบาลตำบลบ้านลาดใหญ่ให้ การสนับสนุนด้านงบประมาณ ส่วนโรงเรียนบ้านลาดใหญ่เป็นฝ่ายดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ร่วมพัฒนาขึ้น นับเป็นความร่วมมือเชิงบูรณาการในการพัฒนาทางการศึกษาในท้องถิ่นที่เป็นพลังร่วมในการพัฒนาขององค์กรในท้องถิ่นอย่างแท้จริง 2.3 โรงเรียนบ้านหัวนาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 13 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ฝึกอบรมคนในชุมชน 2) ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 3) การอำนวยความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีให้แก่ชุมชน 4) การเตรียมความพร้อมของของเด็กก่อนปฐมวัยให้สอดคล้องกับแนว ทางการปฏิรูปการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) สร้างจิตสำนึกและประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน 2) ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ 3) ระดมความคิดเห็นบุคลากรในชุมชนร่วมกันจัดทำเอกสารแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การสร้างทัศนคติและค่านิยมบนพื้นฐานในการดำรงชีวิต 2) การรณรงค์ให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎกติกา ระเบียบกฎหมายอย่าง เคร่งคัด ซึ่งสะท้อนความต้องการของชุมชนในพื้นที่รอบโรงเรียนที่ต้องการได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในทางทักษะและองค์ความรู้ โดยใช้สถานศึกษา คือโรงเรียนบ้านหัวนาเป็นฐานในการพัฒนาประชาชนในชุมชน โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้าให้การสนับสนุนด้านงบประมาณตามยุทธศาสตร์และโครงการที่ทั้งสองหน่วยงานร่วมกับชุมชนพัฒนาขึ้น ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้าบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาทางการศึกษาในท้องถิ่นในเขตบริการ และโรงเรียนบ้านหัวนาซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ส่งผลให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนามากขึ้น โรงเรียนได้เป็นศูนย์กลางร่วมพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อประชาชนในชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนมากยิ่งขึ้น 2.4 โรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ มี แผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 7 ยุทธศาสตร์ รวมจำนวนโครงการในแผนปฏิบัติราชการ ทั้งสิ้น 21 โครงการ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนวัยเรียน กำหนดมาตรการและ แนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมประชาชนในวัยเรียนกลุ่มด้อยโอกาสทางการศึกษาได้รับ การศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อ 12 ปี 2) เพิ่มประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังและระบบให้ความช่วยเหลือนักเรียน 3) กลุ่มเสี่ยงได้รับการศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย 4) ร่วมมือกับสถานศึกษาด้านอาชีวะเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุณธรรมนำความรู้และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม 2) พัฒนาผู้เรียนด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 3) นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลสู่การจัดหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) พัฒนาระบบดูแลนักเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาและ การเรียนรู้สู่ชุมชน 2) ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น 2) อนุรักษ์และสืบสานศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น กำหนดมาตรการและแนวทาง การพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปมีสุขภาพอนามัยที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) สร้างจิตสำนึก การปลูกฝังในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในภาพรวมสามารถดำเนินการพัฒนาได้ตามแผนที่กำหนด และผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอยู่ในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ส่วนสถานศึกษาเป็นฝ่ายเสนอโครงการและจัดกิจกรรมการดำเนินงานพัฒนาด้านการศึกษา จึงเป็นความมือที่ทุกฝ่ายได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจด้านการศึกษาของแต่ละหน่วยงาน จึงเป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นร่วมกัน(win-win) แต่จากผลการศึกษาและพัฒนาความร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้ได้พบอุปสรรคที่สำคัญ คือ ข้อจำกัดของข้อระเบียบกฎหมายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนปัจจัยด้านงบประมาณ และบุคลากรต่อสถานศึกษาที่อยู่นอกสังกัดขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จึงส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการจัดสรรงบประมาณได้โดยตรงเหมือนสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อีกทั้งความร่วมมือของหน่วยงานทั้งสองส่วนยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ยังมีจำกัด ความสัมพันธ์ของผู้บริหารทั้งสองส่วนราชการและ ความพร้อมของคณะครูในการร่วมปฏิบัติงานตอบสนองพันธกิจร่วมกับนโยบายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นด้วย ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนผู้บริหารย่อมกระทบต่อยุทธศาสตร์ที่วางไว้และยังส่งผลต่อ ความต่อเนื่องของแผนยุทธศาสตร์ร่วมกันได้ รัฐจึงควรกำหนดนโยบายและพัฒนาระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อ การปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและสะดวกในการเบิกจ่ายงบประมาณข้ามสังกัดยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1.1 สถานศึกษา ควรนำยุทธศาสตร์ที่ได้จากผลการวิจัยไปแปลงปรับสู่โครงการหรือกิจกรรมของสถานศึกษา ใช้และกำหนดเป็นนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการปฏิรูปการศึกษาของท้องถิ่น 1.2 องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ควรนำยุทธศาสตร์ที่ได้จากผลการวิจัยไปปรับใช้ และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามภารกิจหลัก จัดทำข้อบัญญัติและจัดสรรงบประมาณสู่โครงการตามยุทธศาสตร์ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติได้นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.3 เขตพื้นที่การศึกษาควรนำแนวการดำเนินงานที่ได้จากผลการวิจัยไปปรับเป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมและกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา กำหนดแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมให้สอดคล้ององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการตอบสนองต่อการปฏิรูป การเรียนรู้ของท้องถิ่นและสถานศึกษาในสังกัดด้วย 1.4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพ ด้านการจัดการศึกษาที่มีทิศทางร่วมกัน 1.5 กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย รวมถึงรัฐบาลควรกำหนดนโยบายในการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่นที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม มีความเป็นเอกภาพ ในเชิงนโยบายและมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนและสถานศึกษาในท้องถิ่นร่วมกัน 2. ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยสู่การปฏิบัติ 2.1 ควรกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2.2 ควรพัฒนากลไกการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมของแต่ละหน่วยงานทั้งในสถานศึกษาและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ภายใต้การใช้ปัจจัยและทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการพัฒนาจัดการศึกษาของท้องถิ่น 2.3 ควรพัฒนากลไกในการสื่อสารนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาของท้องถิ่นไปยังครูและบุคลากรของหน่วยงานภายในระดับปฏิบัติการในสังกัด รวมถึงหน่วยงานภายนอกและประชาชนในชุมชนท้องถิ่นได้เข้าใจร่วมกัน ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบเอกสาร ป้ายโฆษณา การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียงในท้องถิ่น เป็นต้น 3. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 3.1 ควรวิจัยปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ เป็นต้น 3.2 ควรวิจัยและพัฒนา(Research & development) ในการพัฒนาคุณภาพด้าน การเรียนการสอนของท้องถิ่น 3.3 ควรวิจัยเชิงนโยบาย(Policy research)หรือวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์(Road map) ในระดับชาติเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ 3.5 ควรวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่น 3.6 ควรวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของของท้องถิ่นสู่การปฏิบัติ เมื่อสิ้นสุดระยะของ การประกาศ ใช้ข้อบัญญัติของท้องถิ่น br> เอกสารอ้างอิง br> กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. . (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. . (2546). หนังสือคู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ร.ส.พ. ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง. รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน), สำนักงาน. (2549). รายงาน การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547. เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23ก วันที่ 14 มิถุนายน 2547. ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). เชื่อมตรงพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2550, จาก http://rirs3.royin.go.th/cgi-bin/rinet/RILookup.cgi?Word=% C7%D4%AA%D2 วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา: นโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุผล. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์. . (2545). วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการวิจัย ทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์. วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มี ประสิทธิผล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมภาร ศิโล และคณะ. (2549). รายงานการวิจัย : การพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพ การศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ และพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของท้องถิ่น. ชัยภูมิ : เครือข่ายวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2547). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัย ปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: สามลดา. สุเมธ ตันติเวชกุล. (2548). แนะพัฒนาการศึกษาใต้ยึดพระบรมราโชวาท เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2550 จาก http://www.mol.go.th.webpr/news_day/m12 3048/edu5.html สุพักตร์ พิบูลย์. (2549). ชุดเสริมทักษะ : การประเมินโครงการ. นนทบุรี : จตุพร ดีไซน์. อำรุง จันทวานิช และไพบูลย์ แจ่มพงษ์. “การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ” วารสาร วิชาการ. 2(9) : 9 กันยายน 2542. Arhar, J.M., Holly, M.L., & Kasten,W.C. (2001). Action research for teachers. New jersey: Merrill Prentice Hall. Cohen, L. & others, (2000). Research methods in education. 5th edition. New York: Routledge Falmer. Daresh, J.C. (2001). Supervision as proactive leadership. 3rd edition. Illinois: Waveland Press, Inc. Espich, J.E., & Williams, B. (1967). Developing programmed instructional materials. New York: Lear Siegler, Inc. Guskey, T.R. (2000). Evaluation professional development. California : Corwin Press. Hoy, K.W. & Miskel, G.C. (2005). Education administration : theory, research, and practice. 7th ed. New York: McGraw–Hill. Hubbard, G. (2000). Strategic management : thinking, analysis, and action. New South Wales : Pearson Education. McMillan, J.H., & Wergin, J.F. (2002). Understanding and evaluating educational research. 2nd edition. New jersey: Merrill Prentice Hall. Mills, G.E. (2000). Action research: A guide for the teacher researcher. New jersey: Merrill Prentice Hall. Owens, R.G. (2001). Organizational behavior in education : instructional leadership and school reform. Boston : Allyn and Bacon. Parkay, F.W., and Hall, G.E., 1992. Becoming a Principal: The Challenges of Beginning Leadership. Massachusetts: Allyn & Bacon.

1 ความคิดเห็น: