วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลการวิจัยสำรวจสถาบันในการร่างข้อเสนอเพื่อพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

เมื่อปี 2552 ข้าพเจ้าได้ทุนทำการวิจัยสำรวจสถาบัน(institutional survey study) ในด้านการพัฒนาวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นข้อมูลจากการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธี คือ การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร(document analysis) การศึกษาเชิงสำรวจ(survey study) โดยใช้แบบสอบถาม และสนทนากลุ่ม เป้าหมาย(focus group discussion) แนวทางการวิจัยสถาบัน (Instituted research) เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการนำกระบวนการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสถาบันอย่างเป็นระบบ เพื่อหาแนวทางกำหนดนโยบายในการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาให้พัฒนางานวิชาการของสถาบันไปสู่ความเป็นเลิศ สำหรับผลการวิจัยในกรณีศึกษาที่ยกมา ได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

4.1 ด้านการเรียนการสอน
4.1.1 วัตถุประสงค์ 1 : เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการสอนที่มุ่งให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรู้ ทักษะและความสามารถสูงทั้งในเชิงวิชาการและวิชาชีพ
4.1.2 เป้าหมาย
(1) นักศึกษาทุกสาขาวิชาได้ศึกษาเรียนรู้ในสภาพจริงนอกสถานที่มากขึ้น
(2) อาจารย์มีการใช้สื่อ นวัตกรรมที่ทันสมัยในการสอน
(3) อาจารย์จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ มีทักษะ เทคนิค วิธีการสอน และ
การประเมินผลที่น่าสนใจ สามารถเชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ในสภาพที่แท้จริงได้
(4) อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกสาขาวิชาสามารถจัดโครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาสาระวิชาและจัดอาจารย์ผู้สอนได้เหมาะสมตามความชำนาญ และมีประสิทธิภาพ

4.1.3 แนวการดำเนินงาน
(1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้นอกสถานที่มากขึ้น
(2) คณะวิชา สาขาวิชาจัดให้มีสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
(3) จัดโครงการอบรมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ให้สูงขึ้น
(4) วางเกณฑ์การพิจารณาจัดอาจารย์ผู้สอนให้เหมาะสมในศาสตร์หรือสาขาที่ชำนาญ
(5) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการประเมินผลตามสภาพที่แท้จริงแก่อาจารย์ทุกคน
(6) จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาการจัดโครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาสาระวิชาให้กับประธานและเลขานุการทุกสาขาวิชา
(7) จัดโครงการอบรมพัฒนาอาจารย์ผู้สอนให้มีทักษะ เทคนิค วิธีการสอนที่น่าสนใจ สามารถเชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ในสภาพที่แท้จริง
(8) กำหนดแนวปฏิบัติให้มีการประเมินผลการศึกษารายวิชาทุกระยะอย่างต่อเนื่อง
4.2 ด้านการวิจัย
4.2.1 วัตถุประสงค์ 2 : เพื่อพัฒนาการวิจัย ให้มีผลผลิตสูงทั้งปริมาณและคุณภาพ
4.2.2 เป้าหมาย
(1) บุคลากรมีศักยภาพทางการวิจัย
(2) นักศึกษาทุกสาขาวิชาสามารถทำวิจัยได้
(3) อาจารย์มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
(4) สถาบันมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้รับการเผยแพร่หรือถูกนำไปใช้มากขึ้น
(5) มีทุนหรืองบประมาณสนับสนุนการวิจัยที่เพิ่มขึ้นและเพียงพอ
(6) มีระบบการบริหารจัดการงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ
4.2.3 แนวการดำเนินงาน
(1) จัดโครงการเพื่อพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างศักยภาพทางการวิจัย
(2) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาสามารถทำวิจัยได้จริง
(3) กำหนดเกณฑ์ภาระงานให้อาจารย์ได้ทำวิจัยทุกคนอย่างน้อยหนึ่งเรื่องต่อปี
(4) สนับสนุนส่งเสริมโครงการเผยแพร่และนำผลงานวิจัยไปใช้
(5) จัดทำแผนการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของงานวิจัย
(6) จัดระดมการเพิ่มทุนวิจัยจากภายในและภายนอก
(7) กำหนดเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณอุดหนุนโครงการวิจัยให้เพียงพอ
(8) โครงการพัฒนาการบริหารจัดการงานวิจัย
4.3 ด้านนักศึกษา
4.3.1 วัตถุประสงค์ 3 : เพื่อพัฒนาประชากรในท้องถิ่นให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพใน การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
4.3.2 เป้าหมาย
(1) บัณฑิตมีงานทำ หรือศึกษาต่อ และผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจ
(2) นักศึกษาที่ผ่านระบบการรับเข้ามีคุณสมบัติและคุณภาพสูงขึ้น
(3) มีอาคารศูนย์บริการสวัสดิการนักศึกษาที่มีความสะดวกสบายภายในสถาบัน
(4) มีระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
(5) มีกิจกรรม โครงการ และงบประมาณด้านการพัฒนานักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง
(6) นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์มากขึ้น
(7) นักศึกษามีความเป็นเลิศในทักษะทางวิชาการในด้านต่าง ๆสูงขึ้น
4.3.3 แนวการดำเนินงาน
(1) ส่งเสริมการได้งานทำ การศึกษาต่อ และการเสริมสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
(2) จัดโครงการพัฒนาระบบการรับเข้านักศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
(3) จัดให้มีศูนย์บริการสวัสดิการนักศึกษาที่มีทั้งธนาคาร ไปรษณีย์ ร้านค้า ร้าน มินิมาร์ท ร้านอาหาร ร้านขายยา สหกรณ์ ยิมเนเซียม คลินิกและร้านเสริมสวย ฯลฯ
(4) จัดทุน สวัสดิการ การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษา
(5) เพิ่มจำนวนกิจกรรม โครงการ และงบประมาณพัฒนานักศึกษาให้มากขึ้นและต่อเนื่อง
(6) จัดโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษา
(7) สนับสนุนส่งเสริมนักศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ ในการเข้าร่วมแข่งขันทักษะในระดับต่าง ๆ
(8) จัดเวทีกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาให้มากขึ้น
4.4 ด้านคณาจารย์
4.4.1 วัตถุประสงค์ 4 : เพื่อพัฒนาคณาจารย์ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม มีคุณวุฒิ คุณธรรม และคุณภาพทางวิชาการ
4.4.2 เป้าหมาย
(1) มีอาจารย์ที่มีศักยภาพทางวิชาการประจำทุกหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน
(2) มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสิทธิผล
(3) อาจารย์ที่จัดเข้าสอนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ตรงคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญ
(4) มีระบบการประเมินการสอนของอาจารย์ที่มีประสิทธิผล
(5) อาจารย์มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
4.4.3 แนวการดำเนินงาน
(1) จัดสรรอัตรา เพิ่มคุณวุฒิ คุณสมบัติและประสบการณ์ของอาจารย์
(2) พัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้ทำหน้าที่ได้อย่างแท้จริง
(3) จัดปัจจัยสนับสนุนการกำหนดตำแหน่ง ผลงานทางวิชาการ และรางวัลเกียรติยศชื่อเสียง
(4) จัดอาจารย์สอนให้ตรงความชำนาญหรือเชี่ยวชาญ และสาขาที่สำเร็จการศึกษา
(5) พัฒนาระบบระเบียบการสรรหาอาจารย์ให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง
(6) จัดโครงการนิเทศและประเมินการสอนของอาจารย์อย่างต่อเนื่องและสะท้อนผลสู่การพัฒนา
(7) เพิ่มการจัดโครงการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพอาจารย์
4.5 ด้านการบริหารจัดการ
4.5.1 วัตถุประสงค์ 5 : เพื่อปรับปรุงปัจจัยและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการให้สนับสนุนส่งเสริมต่อคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการ
4.5.2 เป้าหมาย
(1) มีระบบโปรแกรมสำเร็จรูปหรือ MIS ในการบริหารจัดการและให้บริการวิชาการ
(2) มีระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลเอื้อต่อการพัฒนาวิชาการ
(3) ผู้บริหารวิชาการในทุกระดับเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับ
(4) การจัดการทางการเงินและงบประมาณที่ส่งเสริมการพัฒนาวิชาการมากขึ้น
(5) สถาบันผ่านการประเมินตามตัวชี้วัดของ ก.พ.ร. ในระดับสูง
(6) คณาจารย์และผู้บริหารทุกระดับมีภาวะผู้นำทางวิชาการ
4.5.3 แนวการดำเนินงาน
(1) จัดให้มีระบบโปรแกรมการลงทะเบียนทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(2) ปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
(3) ปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการคัดเลือกหรือสรรหาผู้บริหารวิชาการในทุกระดับ
(4) ปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงานวิชาการที่ซ้ำซ้อนลง
(5) นำระบบ MIS มาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการวิชาการปรับปรุงพัฒนา
(6) ปรับปรุงพัฒนาการจัดการทางการเงินและงบประมาณ
(7) เพิ่มการจัดสรรงบประมาณด้านวิชาการให้มากยิ่งขึ้น
(8) เร่งมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการตามนโยบายของรัฐบาล
(9) จัดกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของคณาจารย์และผู้บริหารทุกระดับ
(10) ฝึกอบรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริการวิชาการให้รวดเร็วทันสมัย
(11) ปรับปรุงพัฒนาระบบการจัดการและประเมินภาระงานของอาจารย์และบุคลากรที่ชัดเจนให้ส่งเสริมต่อการพัฒนางานวิชาการ
4.6 ด้านแหล่งเรียนรู้
4.6.1 วัตถุประสงค์ 6 : เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาและพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต
4.6.2 เป้าหมาย
(1) มีห้องสมุด อาคารเรียน ศูนย์การศึกษา หรือศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและคอมพิวเตอร์ที่สะดวกและทันสมัย
(2) มีแหล่งฝึกปฏิบัติจริง ห้องปฏิบัติการเฉพาะด้านภายในสถาบันที่เป็นห้องเรียนแห่งเทคโนโลยี
(3) มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศและบริการที่หลากหลาย และขยายการให้บริการมากขึ้น
(4) มีห้องสมุดประจำสาขาหรือคณะวิชา
4.6.3 แนวการดำเนินงาน
(1) พัฒนาห้องสมุด อาคารเรียน ศูนย์การศึกษา หรือศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
(2) จัดให้มีแหล่งฝึกปฏิบัติจริง ห้องปฏิบัติการเฉพาะด้านภายในสถาบันก่อนออกฝึกนอกสถาบัน
(3) จัดแหล่งข้อมูลสารสนเทศและบริการที่หลากหลาย
(4) จัดกิจกรรมในการสำรวจและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับแหลงฝึกภาคปฏิบัติและแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
(5) จัดขยายพื้นที่การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานที่ต่าง ๆของสถาบัน
(6) จัดสร้างห้องสมุดประจำสาขาให้เพิ่มมากขึ้น
(7) จัดขยายการเปิดให้บริการห้องสมุดจนถึง 18.00 น.หรือมากกว่าตาม ความเหมาะสม
(8) จัดห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนแห่งเทคโนโลยี
(9) จัดให้มีห้องปฏิบัติการเฉพาะด้านสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่สะดวกและเหมาะสม
4.7 ด้านหลักสูตร
4.7.1 วัตถุประสงค์ 7 : เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีคุณภาพได้มาตรฐานทางวิชาการ
4.7.2 เป้าหมาย
(1) หลักสูตรที่เปิดจัดการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของตลาดวิชาและได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
(2) หลักสูตรที่มีวิชาชีพควบคุมได้มาตรฐานตามเกณฑ์วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
(3) ทุกหลักสูตรได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัย
(4) คณาจารย์ทุกสาขาวิชามีความรู้ความสามารถในการบริหารหลักสูตร
(5) มีคูมือและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาที่เหมาะสมและเพียงพอ
4.7.3 แนวการดำเนินงาน
(1) เปิดสอนในหลักสูตรวิชาที่ขาดแคลนสอดคล้องกับความต้องการของตลาดวิชา
(2) จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน
(3) เร่งปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรที่มีใบประกอบวิชาชีพให้ผ่านการประเมินโดยเร็ว
(4) ให้มีโครงการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยภายในทุก 5 ปี
(5) เพิ่มอัตราและศักยภาพอาจารย์ประจำของแต่ละหลักสูตร
(6) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้คณาจารย์มีความรู้ความสามารถในการบริหารหลักสูตร
(7) จัดงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาเอกสารหลักสูตร คูมือการใช้และเอกสารประกอบ
(8) จัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาวิเคราะห์ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
(9) จัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมในการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียน การสอน
(10) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีเอกสารประกอบการสอนทุกรายวิชา
(11) กำหนดแผนและมาตรการพัฒนาระบบการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4.8 ด้านสื่อ นวัตกรรม
4.8.1 วัตถุประสงค์ 8 : เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ด้วยสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ทันสมัย
4.8.2 เป้าหมาย
(1) มีระบบฐานข้อมูลและการให้บริการการเรียนการสอนด้วยสื่อทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและทั่วถึง
(2) มีการผลิต พัฒนา และการจัดหาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน
(3) มีสื่อ เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เพียงพอ ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของคณาจารย์และนักศึกษา
(4) มีระบบ e-learning ที่มีประสิทธิผล
4.8.3 แนวการดำเนินงาน
(1) โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการให้บริการการเรียนการสอนด้วยสื่อทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
(2) จัดขยายเครือข่ายอินเตอร์ไร้สายบริการทุกชั้น ทุกอาคารเรียนหลัก
(3) โครงการส่งเสริมการผลิต พัฒนา และการจัดหาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี การเรียนการสอน
(4) จัดสรรงบประมาณในการเพิ่มปริมาณเอกสาร ตำรา และงานวิจัยให้เพียงพอและทันสมัย
(5) จัดหาสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของคณาจารย์และนักศึกษา
(6) จัดให้มีระบบ e-learning และมาตรการในการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิผล
(7) จัดหาตำราสาขาเฉพาะด้านในระดับบัณฑิตศึกษาให้เพียงพอ
(8) ฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการให้บริการของบุคลากรห้องสมุด

ข้อเสนอเหล่านี้ได้จากการวิจัยที่เป็นระบบระเบียบหลากหลายวิธีจากหลากหลายแหล่งข้อมูล โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาของสถาบันแห่งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งถ้าผู้บริหารได้นำไปสู่การกำหนดนโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง จะเป็นประโยชน์ต่อผลผลิตและเป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษา คือ นักศึกษาที่เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพของสถาบัน ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ แต่ข้อเสนอเหล่านี้เมื่อได้รับการตอบสนองหรือแก้ปัญหาหรือสามารถพัฒนาให้สูงกว่าในประเด็นใดแล้วก็อาจจะล้าสมัยหรือไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปปฏิบัติ ดังนั้นผู้บริหารที่เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง และผู้บริหารมืออาชีพจึงควรมีการทบทวนนโยบายและตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นในทุกๆปีการศึกษา หรือทุกๆสามถึงห้าปี เป็นต้น


เอกสารอ้างอิง

สมภาร ศิโล. 2552. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Hoy, W.K., and Miskel, C.G., 2001. Educational Administration: Theory, Research, and Practice. 6th ed., New York: McGraw-Hill.
Parkay, F.W., and Hall, G.E., 1992. Becoming a Principal: The Challenges of Beginning Leadership. Massachusetts: Allyn & Bacon.

1 ความคิดเห็น:

  1. Las Vegas to reopen poker room in 2021 - DrMCD
    Casino workers in 고양 출장안마 Las Vegas will 삼척 출장마사지 be allowed 삼척 출장안마 to operate poker rooms in the following areas. 1. Encore 강원도 출장안마 Las Vegas, Aug 30, 2020 남양주 출장샵 · Uploaded by Casino in Las Vegas, NV

    ตอบลบ