วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงน่ารู้ โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม)

ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงน่ารู้ โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ชื่อผู้รายงาน นางอรนีย์ ศิโล ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559 บทคัดย่อ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะความชำนาญทางการเรียนรู้อย่างมีความหมายด้วยตนเอง การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงน่ารู้ โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2)ศึกษาผลทดสอบทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงน่ารู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E 3)ศึกษาความสามารถด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E 4)ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนอนุบาลหนองบัว(เทพวิทยาคม) ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E เรื่อง แสงน่ารู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 แผน 2)แบบทดสอบ วัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้นเอง โดยได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ 2)แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3)แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบค่าที(t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1)ประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E ทุกแผนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 2)ผลทดสอบทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ความสามารถด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E อยู่ในเกณฑ์ดี 4)จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E อยู่ในเกณฑ์ดีมาก คำสำคัญ : การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนววงจรการเรียนรู้ 5E, กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์,โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม)

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้: พหุกรณีศึกษาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 Developing Strategies of Rural Educational Administration for Evolutionary Learning: Multi-Case Study of Schools in Chaiyaphum Office’s Area Zone 1

การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้: พหุกรณีศึกษาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 Developing Strategies of Rural Educational Administration for Evolutionary Learning: Multi-Case Study of Schools in Chaiyaphum Office’s Area Zone 1
ชื่อผู้วิจัย (ภาษาไทย) * ดร.สมภาร ศิโล และคณะ (ภาษาอังกฤษ) Dr.Somphan Silo & others
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา (2) นำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีของท้องถิ่น และ (3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาตามแผนที่กำหนด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR) มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา เป็น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่จำนวน 4 แห่ง ของอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการศึกษาบริบทสถานศึกษาและท้องถิ่นด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการประชุมปฏิบัติการพัฒนายุทธศาสตร์ การดำเนินการตามแผนงาน และการประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ตามความต้องการด้านการศึกษาของแต่ละท้องถิ่น
ผลการวิจัย พบว่า (1) มีการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาทั้ง 4 พื้นที่วิจัย (2) มีการนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 พื้นที่การวิจัย และส่งผลให้มีจำนวนโครงการและปริมาณงบประมาณที่จัดสรรตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น (3) ผลการติดตาม และประเมินผลการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในภาพรวมสามารถดำเนินการพัฒนาได้ตามแผนที่กำหนด และผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอยู่ในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ส่วนสถานศึกษาเป็นฝ่ายเสนอโครงการและดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาด้านการศึกษา จึงเป็น ความร่วมมือที่ทุกฝ่ายได้มีพันธกิจสาธารณประโยชน์ทางการศึกษาร่วมกัน แต่การพัฒนาก็พบว่ามีอุปสรรคที่สำคัญคือ ข้อจำกัดของข้อระเบียบกฎหมายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นใน การสนับสนุนปัจจัยด้านงบประมาณ และบุคลากรต่อสถานศึกษาที่อยู่นอกสังกัดขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ: พัฒนายุทธศาสตร์/ บริหารจัดการศึกษา/ ปฏิรูปการเรียนรู้
ABSTRACT
The purpose of this study was to develop strategies, act projects, and evaluate plans of the rural educational administration for evolutionary learning in schools of Chaiyaphum office’s area zone 1. Participatory action research(PAR) was used and applied in a year during February 2007-march 2008 consisting of multiple case studies, stakeholders focus-group discussions, target in-depth interviews, workshop and survey method. There target group were 4 researched area of local organization and schools. The outcome of the study resulted aspects of (1) there were 4 strategy plans in 4 rural educational administration for evolutionary learning. (2) the strategy plans were implemented in local organizations, and there were educational projects more than last year plan. (3) a total results could doing plans in evaluated plans of the rural educational administration for evolutionary learning in schools of Chaiyaphum office’s area zone 1, and stakeholders were high satisfactory. The co-organization of strategy development was win-win that local organization concerned inputs in order to schools implemented educational initiatives. Thereby, the threat of development in educational administration for evolutionary learning was the budget and personnel laws of local organization
Key Words: Strategy Development/ Educational Administration/ Evolutionary Learning
บทนำ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการคณะกรรมการศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 และกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ มาตราที่ 37 มีสาระสำคัญในบทบัญญัติ ที่มุ่งการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สถานศึกษามีอิสระ มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน และสามารถจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชนมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในแต่ละพื้นที่ จนสามารถบรรลุเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพเพื่อปวงชนชาวไทย การบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้นั้นมีผลให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นมาขึ้นอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้ามามีบทบาทส่งเสริม สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพในตัวผู้เรียนที่เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น นำพาสังคมไปสู่ความเข้มแข็ง สันติสุข และก้าวหน้าต่อไป อย่างมั่นคง ยั่งยืน และส่งผลให้การบริหารและการจัดการศึกษาต้องใช้แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – based Management) ตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโรงเรียนจะมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ มีความอิสระ คล่องตัว และที่เด่นชัด คือ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ดังนั้น คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศชาติในปัจจุบันและอนาคตต่อไปนี้จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอง และการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นสำคัญ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546)
ต่อมากระแสการถ่ายโอนการจัดการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งเริ่มมีผลให้มีการประเมินสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระหว่าง พ.ศ. 2549 – 2552 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) ก่อให้เกิดการต่อต้านจากเครือข่ายและองค์กรครูทั่วประเทศ เป็นปัญหาความแตกแยกทางการศึกษาระหว่างบุคลากรทางการศึกษากับรัฐ หรือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือระหว่างองค์กรครูด้วยกันเอง ขาดเอกภาพทางการศึกษาของชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ได้มีการประท้วงต่อต้านเป็นวงกว้าง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะช่วงเริ่มต้นในการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่น และเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านจากการบริหารจัดการศึกษาในระบบโครงสร้างเดิม สู่ระบบบริหารจัดการใหม่ของเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับสถานศึกษา ระยะสองปีแรกในการวางระบบ วางคนและวางแนวทางการทำงาน จึงพบปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการ และอยู่ในระยะปรับตัวและสร้างวัฒนธรรมองค์กรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่สำคัญสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลโดยบริหารจัดการภายใต้การกำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่อยู่ในระยะแรกเริ่ม ยังไม่เห็นผลดีผลเสียจากการปฏิรูปก็มีปัญหาใหม่ให้ต้องปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างในการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การต่อต้านจึงเกิดขึ้น (สมภาร ศิโล และคณะ, 2549)
การปฏิรูปการเรียนรู้ที่มุ่งสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ นั่นคือ เป้าหมายหลักของกระบวนการปฏิรูปการศึกษา แต่ปัญหาเชิงโครงสร้าง และปัญหาเชิงนโยบายยังขาดความเชื่อมโยงสู่เป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารการศึกษาของท้องถิ่นให้มีความชัดเจนเอื้อต่อการปฏิรูป การเรียนรู้ สร้างพลังสมานฉันท์ร่วมระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากหน่วยงานทางการศึกษาที่มี และท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษา จึงจำเป็นต้องเร่งปรับกระบวนทัศน์ สร้างภาพอนาคตทาง การพัฒนาการศึกษา และแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การศึกษาเป็นการพัฒนาท้องถิ่น และท้องถิ่นพัฒนาการศึกษาของบุตรหลานตนต่อไป ในการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ของสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงศึกษาธิการ(2546) จึงกำหนดให้ต้องดำเนินการโดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนให้เข้ามาผนึกกำลังเป็นภาคีความร่วมมือในการพัฒนา การบริหารจัดการศึกษา รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีบทบาทในฐานะเป็นผู้นำทางวิชาการ เพื่อปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะการปฏิรูปการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพในตัวผู้เรียน และเพื่อให้การศึกษาเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่น จึงต้องพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการศึกษาให้สนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาของท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีบทบาทต่อ การพัฒนาวิชาชีพครู (ราชกิจจานุเบกษา, 2547) จึงเห็นความสำคัญที่จะดำเนินการ โครงการวิจัย การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการของสถานศึกษา โดยภาคีความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และเขตพื้นที่การศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิรูปการเรียนรู้ มีพลวัต สามารถสนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และสนองตอบต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น จึงเสนอเพื่อดำเนินงานโครงการวิจัย การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ในปีงบประมาณ 2550 โดยมีพื้นที่การวิจัย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 สถานศึกษาในสังกัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของพื้นที่วิจัย
วัตถุประสงค์ 1. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมี ส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในท้องถิ่น อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2. นำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผน ปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาในท้องถิ่น อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 3. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาของสถานศึกษาในท้องถิ่น อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ตามแผนที่กำหนดร่วมกัน โจทย์การวิจัย โรงเรียนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการอย่างไร ให้มีการพัฒนายุทธศาสตร์ ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ที่เหมาะสม ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และมีพลวัต สามารถสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น และให้เอื้อต่อการปฏิรูป การเรียนรู้
คำถามการวิจัย br> 1. ท้องถิ่นพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่น ให้ เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาของท้องถิ่นโดยรวมได้อะไรบ้าง ? 2. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนจะมีกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์ด้าน การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ร่วมกันอย่างไร ?
วิธีการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ในการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ในสถานศึกษาท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ศึกษาบริบททั่วไปของสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่สถานศึกษากลุ่มเป้าหมายตั้งอยู่ โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) และดำเนินการศึกษาบริบทโจทย์วิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามลำดับ ดังนี้ 1. สัมภาษณ์เชิงลึก โดยเก็บข้อมูลกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และตัวแทนประชาชนในท้องที่ เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่วิจัยแต่ละแห่ง 2. เลือกโรงเรียนเพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัย โดยเลือกแบบเจาะจง ได้ โรงเรียน 4 โรง ได้แก่ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ โรงเรียนบ้านหัวนา และโรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 3. ศึกษาบริบทของโรงเรียนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดย การสนทนากลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน 4. ศึกษาวิเคราะห์ถึงบริบทโจทย์วิจัยของพื้นที่วิจัยตามสภาพปัญหาและความต้องการ ของแต่ละโรงเรียนแต่ละชุมชนในท้องถิ่นนั้น 5. จัดประชุมกลุ่ม และสนทนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็น ถึงสภาพปัญหาหรือ ความต้องการร่วมกัน การประเมินความต้องการ (Need Assessment) ในการพัฒนา หรือแก้ปัญหา ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารท้องถิ่น ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนนักเรียนและทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 6. นำความต้องการในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม เข้าเสนอต่อเวทีประชาคมของท้องถิ่น หรือจัดทำประชาพิจารณ์ตามความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นพื้นที่วิจัย เพื่อร่วมสะท้อนสภาพปัญหาปัจจุบันหรือความต้องการไปสู่สภาพที่ควรจะเป็นร่วมกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ เรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1” โดยใช้เครื่องมือ ดังนี้ 1.1 แบบสอบถาม 1.2 แบบสัมภาษณ์ 2. กระบวนการวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ 2.1 การจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้แทนชุมชน โดยร่วมสร้างแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนายุทธศาสตร์การศึกษา ภายใต้บริบทโจทย์วิจัยของโรงเรียนและท้องถิ่นนั้น 2.2 ร่วมประชาพิจารณ์แบบของการพัฒนาคืนสู่ชุมชน ร่วมรับทราบ วิพากษ์วิจารณ์ และปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 2.3 ร่วมวางแผนปฏิบัติการพัฒนาตามรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น 2.4 ร่วมดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 3. ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา 3.1 การประเมินรูปแบบ 3.2 การสนทนากลุ่ม 3.3 การสัมภาษณ์
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยดำเนินการดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะก่อนการวิจัย (Pre-Research Phase ) 1. สร้างสัมพันธภาพกับชุมชนพื้นที่วิจัย 2. สำรวจและศึกษาชุมชน 3. การคัดเลือกชุมชน 4. การเข้าหาชุมชน 5. การเตรียมคน และเตรียมเครือข่าย ประกอบด้วย การเตรียมนักวิจัย การเตรียม นักพัฒนา การเตรียมชุมชน และการเตรียมเครือข่าย ระยะที่ 2 ระยะวิจัย (Research Phase) 1. ศึกษาปัญหา และรวบรวมข้อมูลปัญหาการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา 2. การศึกษาบริบทชุมชน 3. การวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน 4. การพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ ระยะที่ 3 ระยะการจัดทำแผน (Planning Phase) ผู้วิจัยจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระดมความคิดเห็นในการสร้าง รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ระยะที่ 4 ระยะนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation Phase) ผู้วิจัยนำรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่ได้ไปใช้ และติดตาม ประเมินผล การใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา ในพื้นที่ดำเนินการวิจัย ระยะที่ 5 ระยะติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (Monitoring and Evaluation Phase) ผู้วิจัยจัดเวทีสะท้อนผลเพื่อสรุปผลการนำแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่ได้ ไปใช้ ระยะที่ 6 ระยะรายงานและนำเสนอผลการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ศึกษาบริบทในพื้นที่ดำเนินการวิจัย และศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษา วิเคราะห์ปัญหา โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูล ดังนี้ 2.1. แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับสภาพปัญหา และความต้องการการพัฒนายุทธศาสตร์ด้าน การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้สัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากร ดังนี้ 2.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา , 2.1.2 ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2.1.3 ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.1.4 กรรมการสถานศึกษา 2.1.5 ครู 2.1.6 นักเรียน 2.2 แบบสังเกต เกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้จากการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม 3. จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหาร จัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการระดมความคิดเห็นทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (ผู้บริหารการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, ผู้บริหารท้องถิ่น, ครูผู้สอน, คณะกรรมการสถานศึกษา, ผู้นำท้องถิ่น และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน) ในพื้นที่วิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูป การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่วิจัย 3.2 นำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูป การเรียนรู้ของท้องถิ่นสู่การปฏิบัติตามแผนงาน โครงการที่ร่วมกันกำหนดขึ้นในแต่ละพื้นที่วิจัย 4. แต่ละท้องถิ่นกำกับ ติดตามและประเมินผลการนำยุทธศาสตร์และแผนงานที่ได้ไปสู่ การพัฒนาในแต่ละพื้นที่วิจัย 5. จัดเวทีสะท้อนผล เพื่อสรุปผลการนำรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาที่นำไปใช้ 6. รายงานผลการวิจัย
ผลการวิจัย
จากการศึกษาในครั้งนี้ได้ผลสรุป พบว่า
1. มีการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาทั้ง 4 พื้นที่วิจัย ประกอบด้วย 1.1 องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนร่วมกับโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม 1.2 เทศบาลตำบลลาดใหญ่ร่วมกับโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ 1.3 องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้าร่วมกับโรงเรียนบ้านหัวนา 1. 4 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ร่วมกับโรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ 2. มีการนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 พื้นที่การวิจัย และส่งผลให้มีจำนวนโครงการและปริมาณงบประมาณที่จัดสรรตามแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น ประกอบด้วย 2.1 โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อน มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา กำหนดมาตรการและ แนวทางการพัฒนา ดังนี้
1) การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก 2) การพัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนการสอน 3) การพัฒนาคุณภาพครู ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติ และของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ส่งเสริม และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิต กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การสนับสนุนด้านทุนการศึกษา 2) การสนับสนุนด้านวัสดุ ครุภัณฑ์การศึกษา 3) การพัฒนาอาชีพ 4) การพัฒนาด้านสาธารณสุข 5) การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค 2.2 โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ร่วมกับเทศบาลตำบลลาดใหญ่ มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพชีวิต กำหนดมาตรการและแนวทาง การพัฒนา คือ การยกระดับคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 2 ร่วมมือพันธมิตรในการศึกษา กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การมีส่วนร่วมในการการพัฒนาการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 4 ฉลาดในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ดีงามในการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม 2.3 โรงเรียนบ้านหัวนาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 13 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม กำหนดมาตรการและแนว ทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ฝึกอบรมคนในชุมชน 2) ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 3) การอำนวยความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีให้แก่ชุมชน 4) การเตรียมความพร้อมของของเด็กก่อนปฐมวัยให้สอดคล้องกับแนว ทางการปฏิรูปการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) สร้างจิตสำนึกและประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน 2) ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ 3) ระดมความคิดเห็นบุคลากรในชุมชนร่วมกันจัดทำเอกสารแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กำหนดมาตรการและแนวทาง การพัฒนา ดังนี้ 1) การสร้างทัศนคติและค่านิยมบนพื้นฐานในการดำรงชีวิต 2) การรณรงค์ให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎกติกา ระเบียบกฎหมายอย่าง เคร่งคัด 2.4 โรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ มี แผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 7 ยุทธศาสตร์ รวมจำนวนโครงการในแผนปฏิบัติราชการ ทั้งสิ้น 21 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนวัยเรียน กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมประชาชนในวัยเรียนกลุ่มด้อยโอกาสทางการศึกษาได้รับ การศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อ 12 ปี 2) เพิ่มประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังและระบบให้ความช่วยเหลือ นักเรียน 3) กลุ่มเสี่ยงได้รับการศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย 4) ร่วมมือกับสถานศึกษาด้านอาชีวะเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุณธรรมนำความรู้และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ การปฏิบัติ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม 2) พัฒนาผู้เรียนด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 3) นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลสู่การจัดหลักสูตร สถานศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) พัฒนาระบบดูแลนักเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้สู่ชุมชน 2) ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น 2) อนุรักษ์และสืบสานศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ คือ ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปมีสุขภาพอนามัยที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ สร้างจิตสำนึก การปลูกฝังในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในภาพรวมสามารถดำเนินการพัฒนาได้ตามแผนที่กำหนด และผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอยู่ในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ส่วนสถานศึกษาเป็นฝ่ายเสนอโครงการและจัดกิจกรรมการดำเนินงานพัฒนาด้านการศึกษา จึงเป็นความมือที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่การพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในครั้งนี้พบว่ามีอุปสรรคที่สำคัญ คือ ข้อจำกัดของข้อระเบียบกฎหมายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนปัจจัยด้านงบประมาณ และบุคลากรต่อสถานศึกษาที่อยู่นอกสังกัดขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
อภิปรายผล
จากผลการวิจัยที่พบ ผู้วิจัยได้อภิปรายผลในรายประเด็น ดังนี้ 1. จากผลการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาทั้ง 4 พื้นที่วิจัย ประกอบด้วย 1.1 องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนร่วมกับโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม 1.2 เทศบาลตำบลลาดใหญ่ร่วมกับโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ 1.3 องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้าร่วมกับโรงเรียนบ้านหัวนา และ 1.4 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ร่วมกับโรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ นั้น เป็นการพัฒนาบริหารจัดการศึกษาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่ นับเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเชิงบูรณาการร่วมของหน่วยงานราชการในท้องถิ่นที่ร่วมมือถึงขั้นสนับสนุนงบประมาณข้ามกระทรวงเพื่อตอบสนองพันธกิจของทั้งโรงเรียนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในเขตบริการของทั้งสองส่วนราชการ โดยส่งผลให้เกิดยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ร่วมกันในท้องถิ่นและนำไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีร่วมกันอย่างต่อเนื่องถึงสามปี ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่มีนโยบายให้การพัฒนาทุกด้านของจังหวัดในเชิงบูรณาการร่วมของหลายหน่วยงานในต่างสังกัด การศึกษาครั้งนี้จึงสามารถตอบสนองพันธกิจทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการและพันธกิจด้านการบริการการศึกษาของกระทรวงมหาดไทยได้ในคราวเดียวกัน 2. จากการนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ที่ได้ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 พื้นที่การวิจัย และส่งผลให้มีจำนวนโครงการและปริมาณงบประมาณที่จัดสรรตามแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น ประกอบด้วย 2.1 โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อน มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ ดังนี้ โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก 2) การพัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนการสอน 3) การพัฒนาคุณภาพครู ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติ และของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ส่งเสริม และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิต กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การสนับสนุนด้านทุนการศึกษา 2) การสนับสนุนด้านวัสดุ ครุภัณฑ์การศึกษา 3) การพัฒนาอาชีพ 4) การพัฒนาด้านสาธารณสุข5) การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค จากเดิมที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนจะรับผิดชอบจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด ในความร่วมมือครั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนได้สนับสนุนงบประมาณด้านการบริหารจัดการศึกษาเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 ต่อโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม ซึ่งเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ โดยมุ่งเน้นที่ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา คุณธรรมจริยธรรม แหล่งเรียนรู้ชุมชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น จึงเป็นความร่วมมือในทางยุทธศาสตร์และงบประมาณที่สูงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สะท้อนความสำเร็จของท้องถิ่นในการมีส่วนร่วม การบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา 2.2 โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ร่วมกับเทศบาลตำบลลาดใหญ่ มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 18 โครงการ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพชีวิต กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การยกระดับคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 2 ร่วมมือพันธมิตรในการศึกษา กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การมีส่วนร่วมในการการพัฒนาการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 4 ฉลาดในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา คือ การปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ดีงามในการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม เป็นความร่วมมือที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างพันธมิตรความร่วมมือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรม โดยเทศบาลตำบลบ้านลาดใหญ่ให้ การสนับสนุนด้านงบประมาณ ส่วนโรงเรียนบ้านลาดใหญ่เป็นฝ่ายดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ร่วมพัฒนาขึ้น นับเป็นความร่วมมือเชิงบูรณาการในการพัฒนาทางการศึกษาในท้องถิ่นที่เป็นพลังร่วมในการพัฒนาขององค์กรในท้องถิ่นอย่างแท้จริง 2.3 โรงเรียนบ้านหัวนาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ 13 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ฝึกอบรมคนในชุมชน 2) ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทั้งในสถานศึกษาและชุมชน 3) การอำนวยความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีให้แก่ชุมชน 4) การเตรียมความพร้อมของของเด็กก่อนปฐมวัยให้สอดคล้องกับแนว ทางการปฏิรูปการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) สร้างจิตสำนึกและประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน 2) ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ 3) ระดมความคิดเห็นบุคลากรในชุมชนร่วมกันจัดทำเอกสารแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) การสร้างทัศนคติและค่านิยมบนพื้นฐานในการดำรงชีวิต 2) การรณรงค์ให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎกติกา ระเบียบกฎหมายอย่าง เคร่งคัด ซึ่งสะท้อนความต้องการของชุมชนในพื้นที่รอบโรงเรียนที่ต้องการได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในทางทักษะและองค์ความรู้ โดยใช้สถานศึกษา คือโรงเรียนบ้านหัวนาเป็นฐานในการพัฒนาประชาชนในชุมชน โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้าให้การสนับสนุนด้านงบประมาณตามยุทธศาสตร์และโครงการที่ทั้งสองหน่วยงานร่วมกับชุมชนพัฒนาขึ้น ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้าบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาทางการศึกษาในท้องถิ่นในเขตบริการ และโรงเรียนบ้านหัวนาซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ส่งผลให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนามากขึ้น โรงเรียนได้เป็นศูนย์กลางร่วมพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อประชาชนในชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนมากยิ่งขึ้น 2.4 โรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ มี แผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการศึกษา ในปีงบประมาณ 2550-2553 จำนวน 7 ยุทธศาสตร์ รวมจำนวนโครงการในแผนปฏิบัติราชการ ทั้งสิ้น 21 โครงการ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนวัยเรียน กำหนดมาตรการและ แนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมประชาชนในวัยเรียนกลุ่มด้อยโอกาสทางการศึกษาได้รับ การศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อ 12 ปี 2) เพิ่มประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังและระบบให้ความช่วยเหลือนักเรียน 3) กลุ่มเสี่ยงได้รับการศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย 4) ร่วมมือกับสถานศึกษาด้านอาชีวะเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ด้านอาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุณธรรมนำความรู้และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม 2) พัฒนาผู้เรียนด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 3) นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลสู่การจัดหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) พัฒนาระบบดูแลนักเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาและ การเรียนรู้สู่ชุมชน 2) ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น 2) อนุรักษ์และสืบสานศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น กำหนดมาตรการและแนวทาง การพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปมีสุขภาพอนามัยที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการและแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) สร้างจิตสำนึก การปลูกฝังในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ในภาพรวมสามารถดำเนินการพัฒนาได้ตามแผนที่กำหนด และผู้มีส่วนได้เสียมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอยู่ในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ส่วนสถานศึกษาเป็นฝ่ายเสนอโครงการและจัดกิจกรรมการดำเนินงานพัฒนาด้านการศึกษา จึงเป็นความมือที่ทุกฝ่ายได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจด้านการศึกษาของแต่ละหน่วยงาน จึงเป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นร่วมกัน(win-win) แต่จากผลการศึกษาและพัฒนาความร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้ได้พบอุปสรรคที่สำคัญ คือ ข้อจำกัดของข้อระเบียบกฎหมายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนปัจจัยด้านงบประมาณ และบุคลากรต่อสถานศึกษาที่อยู่นอกสังกัดขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จึงส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการจัดสรรงบประมาณได้โดยตรงเหมือนสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อีกทั้งความร่วมมือของหน่วยงานทั้งสองส่วนยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ยังมีจำกัด ความสัมพันธ์ของผู้บริหารทั้งสองส่วนราชการและ ความพร้อมของคณะครูในการร่วมปฏิบัติงานตอบสนองพันธกิจร่วมกับนโยบายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นด้วย ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนผู้บริหารย่อมกระทบต่อยุทธศาสตร์ที่วางไว้และยังส่งผลต่อ ความต่อเนื่องของแผนยุทธศาสตร์ร่วมกันได้ รัฐจึงควรกำหนดนโยบายและพัฒนาระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อ การปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและสะดวกในการเบิกจ่ายงบประมาณข้ามสังกัดยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1.1 สถานศึกษา ควรนำยุทธศาสตร์ที่ได้จากผลการวิจัยไปแปลงปรับสู่โครงการหรือกิจกรรมของสถานศึกษา ใช้และกำหนดเป็นนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการปฏิรูปการศึกษาของท้องถิ่น 1.2 องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ควรนำยุทธศาสตร์ที่ได้จากผลการวิจัยไปปรับใช้ และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามภารกิจหลัก จัดทำข้อบัญญัติและจัดสรรงบประมาณสู่โครงการตามยุทธศาสตร์ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติได้นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.3 เขตพื้นที่การศึกษาควรนำแนวการดำเนินงานที่ได้จากผลการวิจัยไปปรับเป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมและกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา กำหนดแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมให้สอดคล้ององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการตอบสนองต่อการปฏิรูป การเรียนรู้ของท้องถิ่นและสถานศึกษาในสังกัดด้วย 1.4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพ ด้านการจัดการศึกษาที่มีทิศทางร่วมกัน 1.5 กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย รวมถึงรัฐบาลควรกำหนดนโยบายในการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่นที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม มีความเป็นเอกภาพ ในเชิงนโยบายและมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนและสถานศึกษาในท้องถิ่นร่วมกัน 2. ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยสู่การปฏิบัติ 2.1 ควรกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2.2 ควรพัฒนากลไกการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมของแต่ละหน่วยงานทั้งในสถานศึกษาและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ภายใต้การใช้ปัจจัยและทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการพัฒนาจัดการศึกษาของท้องถิ่น 2.3 ควรพัฒนากลไกในการสื่อสารนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาของท้องถิ่นไปยังครูและบุคลากรของหน่วยงานภายในระดับปฏิบัติการในสังกัด รวมถึงหน่วยงานภายนอกและประชาชนในชุมชนท้องถิ่นได้เข้าใจร่วมกัน ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบเอกสาร ป้ายโฆษณา การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียงในท้องถิ่น เป็นต้น 3. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 3.1 ควรวิจัยปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ เป็นต้น 3.2 ควรวิจัยและพัฒนา(Research & development) ในการพัฒนาคุณภาพด้าน การเรียนการสอนของท้องถิ่น 3.3 ควรวิจัยเชิงนโยบาย(Policy research)หรือวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์(Road map) ในระดับชาติเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ 3.5 ควรวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาของท้องถิ่น 3.6 ควรวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการศึกษาของของท้องถิ่นสู่การปฏิบัติ เมื่อสิ้นสุดระยะของ การประกาศ ใช้ข้อบัญญัติของท้องถิ่น br> เอกสารอ้างอิง br> กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. . (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. . (2546). หนังสือคู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ร.ส.พ. ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง. รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน), สำนักงาน. (2549). รายงาน การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547. เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23ก วันที่ 14 มิถุนายน 2547. ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). เชื่อมตรงพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2550, จาก http://rirs3.royin.go.th/cgi-bin/rinet/RILookup.cgi?Word=% C7%D4%AA%D2 วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา: นโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุผล. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์. . (2545). วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการวิจัย ทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์. วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มี ประสิทธิผล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมภาร ศิโล และคณะ. (2549). รายงานการวิจัย : การพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพ การศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ และพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของท้องถิ่น. ชัยภูมิ : เครือข่ายวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2547). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัย ปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: สามลดา. สุเมธ ตันติเวชกุล. (2548). แนะพัฒนาการศึกษาใต้ยึดพระบรมราโชวาท เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2550 จาก http://www.mol.go.th.webpr/news_day/m12 3048/edu5.html สุพักตร์ พิบูลย์. (2549). ชุดเสริมทักษะ : การประเมินโครงการ. นนทบุรี : จตุพร ดีไซน์. อำรุง จันทวานิช และไพบูลย์ แจ่มพงษ์. “การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ” วารสาร วิชาการ. 2(9) : 9 กันยายน 2542. Arhar, J.M., Holly, M.L., & Kasten,W.C. (2001). Action research for teachers. New jersey: Merrill Prentice Hall. Cohen, L. & others, (2000). Research methods in education. 5th edition. New York: Routledge Falmer. Daresh, J.C. (2001). Supervision as proactive leadership. 3rd edition. Illinois: Waveland Press, Inc. Espich, J.E., & Williams, B. (1967). Developing programmed instructional materials. New York: Lear Siegler, Inc. Guskey, T.R. (2000). Evaluation professional development. California : Corwin Press. Hoy, K.W. & Miskel, G.C. (2005). Education administration : theory, research, and practice. 7th ed. New York: McGraw–Hill. Hubbard, G. (2000). Strategic management : thinking, analysis, and action. New South Wales : Pearson Education. McMillan, J.H., & Wergin, J.F. (2002). Understanding and evaluating educational research. 2nd edition. New jersey: Merrill Prentice Hall. Mills, G.E. (2000). Action research: A guide for the teacher researcher. New jersey: Merrill Prentice Hall. Owens, R.G. (2001). Organizational behavior in education : instructional leadership and school reform. Boston : Allyn and Bacon. Parkay, F.W., and Hall, G.E., 1992. Becoming a Principal: The Challenges of Beginning Leadership. Massachusetts: Allyn & Bacon.

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 โดย นายเทพประทาน ศิโล บทคัดย่อ การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพบริบทของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 2) ประเมินสภาพปัจจัยการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 3) ประเมินสภาพกระบวนการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 4) ประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 และ 5) ประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มาประยุกต์ใช้ ในการประเมิน ประชากร ได้แก่ ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2,024 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 620 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบตรวจรายการ และแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านบริบทของโครงการ รองลงมา คือ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ตามลำดับ ส่วนด้านผลผลิตของโครงการมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, ระบบติดตามช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) บทนำ ด้วยสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยยุคปัจจุบันได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยี เป็นสภาวการณ์ของโลกที่กำลังเคลื่อนจากยุคข้อมูลข่าวสาร ผ่านยุคสารสนเทศเข้าสู่ยุคสังคมใหม่ในคลื่นของ โลกาภิวัตน์ที่ไร้พรมแดน โลกกำลังจะกลายเป็นมิติที่แบนราบด้วยความเจริญทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร มีการแข่งขันกันมากขึ้น ประชากรจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในยุคโลกาภิวัตน์ ประชากรไทยเป็นสังคมย่อยสังคมหนึ่งย่อมได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาหรือ สกศ., 2553 : 5) ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตและความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนไทยในหลายรูปแบบ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านทัศนคติและพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน มีค่านิยมแบบบริโภคนิยมอย่างฟุ่มเฟือย การห่างเหินจากศาสนา การทะเลาะวิวาท ติดยาเสพย์ติด การเสพสื่อลามกอนาจาร ติดเกม รวมทั้งการจมน้ำเสียชีวิต และการประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางของเด็กและเยาวชน ฯลฯ จนทำให้เด็กและเยาวชนไทยมีปัญหาต่างๆ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2556 : 12) พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสไว้ว่า “เยาวชนทุกคนมิได้ต้องการทำตัวให้ตกต่ำหรือเป็นปัญหาแก่สังคมแต่ประการใดแท้จริงต้องการจะเป็นคนดีมีความสำเร็จมีฐานะมีเกียรติและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น แต่การที่จะบรรลุจุดประสงค์นั้นจำต้องอาศัยผู้แนะนำ ควบคุม ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องในฐานะหน้าที่ที่เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นผู้บริหารการศึกษาท่านจะช่วยเขาได้มากที่สุด เพราะมีส่วนควบคุมดูแลใกล้ชิดอยู่ทุกๆ ด้าน รองลงมาจากบิดา มารดา (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : ก) จากสถิติของศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2557 : 1) ประจำปี พ.ศ.2556 พบว่า มีเด็กนักเรียนได้รับการช่วยเหลือจากศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 59,179 ราย และจากสถิติศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1,662 ราย รวม 60,841 ราย จึงเป็นภารกิจสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานทุกภาคส่วนต้องเร่งประสานความร่วมมือในการดำเนินงานป้องกัน แก้ปัญหา และเยียวยารักษา ดังนั้นเพื่อให้การศึกษาของเราเป็นไปในทิศทางที่มีคุณค่าต่อตัวผู้เรียนต่อสังคมในทางสร้างสรรค์มากขึ้น เราจึงควรจะปรับเปลี่ยนกระแสการศึกษาใหม่ให้เป็นไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก่อให้เกิดรูปธรรมในการศึกษา ก่อให้เกิดผลผลิตขึ้นในวงการศึกษา (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ, 2554 : 6) ในการสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ สามารถดํารงชีวิตด้วยวิถีแห่งปัญญาอย่างมีคุณค่าของตนเองและสังคม และปลอดภัยจากภาวะวิกฤติดังกล่าวข้างต้น แม้กระทรวงศึกษาธิการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา แต่การดูแล ช่วยเหลือนักเรียนยังไม่ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย การขับเคลื่อนระบบไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร (สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2550 : ค) โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ได้เข้าร่วมโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 และจากผลการประเมินตนเองของโรงเรียนทำให้ทราบถึงปัญหาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในบางด้านไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เนื่องจากสภาพการดำเนินงานและสาเหตุของปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ทำให้โรงเรียนต้องหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยกำหนดให้มีการจัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสามารถ ส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง (โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม), 2557 : 18-21) การดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2556 ครั้งนี้ ผู้รายงานในฐานะรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั่วไปและเป็นหัวหน้าโครงการ จึงมีหน้าที่ในการประเมินโครงการ โดยเลือกประยุกต์ใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 2001 : 261-265) เพื่อตัดสินใจเลือกวัตถุประสงค์ของโครงการตรวจสอบความเหมาะสมความสมเหตุสมผลของการวางแผนดำเนินโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการที่จะนำไปปฏิบัติ คุณภาพของโครงการรวมทั้งตรวจสอบโอกาสที่โครงการนั้นจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ การประเมินเพื่อตัดสินใจ หรือหาข้อมูลสรุปสำหรับการตัดสินใจเลือกโครงการ วิเคราะห์โครงการ คือ ความเหมาะสมของโครงการที่จะดำเนินการ การประเมินในระหว่างการดำเนินโครงการ และการประเมินหลังการดำเนินโครงการ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2555 : 39-40) และเพื่อนำผลการประเมินมาเป็นสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนในการปรับปรุงพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อไป จึงสนใจทำการประเมินโครงการนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2556 2. เพื่อประเมินปัจจัยการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2556 3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2556 4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2556 5. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 วิธีการดำเนินการ ขอบเขตของการประเมินโครงการ 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา การประเมินครั้งนี้ได้ประยุกต์รูปแบบซิป (CIPP Model) ดังนี้ 1.1 บริบทของโครงการ เป็นความเหมาะสมของหลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 1.2 ปัจจัยการดำเนินงานของโครงการ เป็นความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และความพร้อมด้านระยะเวลาของโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 1.3 กระบวนการดำเนินงานของโครงการ เป็นกระบวนการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 1.4 ผลผลิตของโครงการ 1.4.1 ด้านคุณภาพนักเรียน ประกอบด้วย นักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขนิสัยที่ดี มีทักษะชีวิต สามารถหลีกเลี่ยง ป้องกันภัยอันตรายและ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและสังคม 1.4.2 ด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 10 กิจกรรม คือ กิจกรรมโฮมรูม การประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน กิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียน กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมตรวจสอบสมรรถนะทางกายนักเรียน กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ กิจกรรมค่ายคุณธรรม กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย 1.4.3 ด้านบุคลากร ประกอบด้วย ผู้บริหารเป็นผู้นำ บริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างเป็นระบบ คณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี ต่อการปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือเพิ่มขึ้น บุคลากรได้รับการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและมีขวัญกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน บุคลากรมีการประสานงานกับผู้ปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.4.4 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง เป็นความพึงพอใจต่อคุณภาพนักเรียน ประกอบด้วย นักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขนิสัยที่ดี มีทักษะชีวิต สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันภัยอันตรายและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและสังคม 2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) จังหวัดนครสวรรค์ ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 2,024 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 51 คน นักเรียน จำนวน 980 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 980 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling Technique) โดยใช้ประชากรครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธี จับฉลาก ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 278 คน รวมกลุ่มตัวอย่างในการประเมินทั้งสิ้น จำนวน 620 คน ประกอบด้วย 1) ครูผู้ดำเนินโครงการทุกระดับชั้น จำนวน 51 คน 2) นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 278 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 278 คน 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ที่ไม่ใช่ครูและผู้บริหาร ที่ดำเนินโครงการ จำนวน 13 คน โดยผู้รายงานกำหนดกลุ่มผู้ประเมินในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของ การเป็นผู้ให้ข้อมูลที่มีความหมายในการประเมินเป็นสำคัญ ดังนี้ คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ประเมินจากระดับความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ส่วนด้านผลผลิต และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประเมินจากระดับ ความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. ขอบเขตด้านพื้นที่และระยะเวลา พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ในปีการศึกษา 2556 รูปแบบที่ใช้ในการประเมินโครงการ ผู้ประเมินได้นำรูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ดังแผนภูมิที่ 1 ภาพที่ 1 รูปแบบการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน อนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว(เทพวิทยาคม) แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 ได้กำหนดเป้าหมาย แนวทาง กระบวนการ และการดำเนินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) โดยความร่วมมือของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้ให้การสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในลักษณะร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ตามขั้นตอนดังเสนอในแผนภาพ ต่อไปนี้ ภาพที่ 2 กระบวนการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2.1 ประชากร ที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ เป็นครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 2,024 คน ประกอบด้วยครู จำนวน 51 คน นักเรียน จำนวน 980 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 980 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน 3.2.2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ในปีการศึกษา 2556 กำหนดขนาดโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 9-40) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 620 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling Technique) ในส่วนของครู ผู้ดำเนินโครงการของทุกระดับชั้น จำนวน 51 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ที่ไม่ใช่ครูและผู้บริหารผู้ดำเนินโครงการ จำนวน 13 คน ส่วนนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 278 คน และผู้ปกครองของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 278 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็นแบบตรวจสอบรายการมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scales) โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) เป็นกรอบแนวทางในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน แบ่งออกเป็น 4 ฉบับ ดังต่อไปนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามระดับความคิดเห็นในการประเมินบริบท และปัจจัยนำเข้า ของโครงการ เป็นการประเมินเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ความเหมาะสมด้านความรู้บุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ระยะเวลาในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามระดับความคิดเห็นในการประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการ ด้านความเหมาะสมของขั้นตอน กระบวนการและกิจกรรมของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามระดับความคิดเห็นในการประเมินผลผลิตโครงการ เป็น การประเมินผลในด้านคุณภาพของผู้เรียน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และบุคลากร ฉบับที่ 4 แบบสอบถามระดับความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 การหาคุณภาพของเครื่องมือ 1. การหาคุณภาพของเครื่องมือ ดำเนินการโดยนำแบบสอบถามทั้ง 4 ฉบับเสนอ ต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปและมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาด้านการบริหารการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยและประเมินผลการศึกษา ได้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการประเมินในด้านความตรงเชิงเนื้อหา และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่รับเป็นผู้เชี่ยวชาญมีบัญชีรายชื่อที่ภาคผนวก 2. นำแบบสอบถามที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์หาค่าดัชนี ความสอดคล้อง โดยใช้เทคนิค IOC (Index of Objective Congruence) มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 132–133) ทั้งนี้ผู้ประเมินใช้ข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ซึ่งได้ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80–1.00 3. ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามทั้ง 5 ฉบับตามที่ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ จากนั้นนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยนำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try -out ) กับกลุ่มตัวอย่าง ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนที่มีสภาพบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนอนุบาล หนองบัว (เทพวิทยาคม) คือ โรงเรียนอนุบาลท่าตะโก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนอนุบาลไพศาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจด้านภาษา และหาคุณภาพของเครื่องมือ โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α - Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach`s Alpha Coefficient) ได้ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นรายฉบับ ระหว่าง 0.81-0.92 ดังนี้ ฉบับที่ 1 ด้านบริบทและปัจจัยของโครงการ เท่ากับ 0.92 ฉบับที่ 2 ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ เท่ากับ 0.92 ฉบับที่ 3 ด้านผลผลิตของโครงการ เท่ากับ 0.86 ฉบับที่ 4 ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ เท่ากับ 0.81 การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 ผู้ประเมินได้ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลา ดังนี้ 3.1 การเก็บรวมข้อมูลการประเมินก่อนเริ่มดำเนินงาน การประเมินในช่วงนี้ดำเนินการ เพื่อ การวางแผนอันเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ และวิธีการดำเนินงานจัดทำสิ่งต่างๆ เช่น กิจกรรมการประเมินในระยะนี้ดำเนินการประเมินในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2556 ซึ่งทำการประเมินใน 2 ส่วนคือ การประเมินด้านสภาพบริบท และการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3.1.1 ผู้ประเมินนำแบบสอบถามประเมินบริบทและปัจจัยนำเข้า ของโครงการแจกให้กับครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2556 จำนวน 64 ฉบับ ได้รับคืนมาจำนวน 64 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 3.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินระหว่างดำเนินโครงการ (Process Evaluation) เพื่อการศึกษาจุดอ่อนจุดแข็ง ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการ สาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการตามแผนได้ เพื่อจัดหาสารสนเทศและเพื่อการปรับปรุง การดำเนินโครงการได้อย่างทันท่วงที ทำการประเมินระหว่างดำเนินโครงการในช่วง 16 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2557 การประเมินขั้นตอนนี้ คือ การประเมินด้านกระบวนการ โดย ผู้ประเมินนำแบบสอบถามประเมินกระบวนการของโครงการแจกให้กับครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งเก็บรวมรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 จำนวน 620 ฉบับ ได้รับคืนมาจำนวน 620 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 100 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ (Product Evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินผลผลิตของโครงการ เพื่อจะตอบคำถามให้ได้ว่า การดำเนินโครงการ ประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผลผลิตเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ การประเมินหลังสิ้นสุดโครงการจะพิจารณาผลลัพธ์ ผลกระทบของโครงการทุกๆด้าน ผลการประเมินจะให้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของโครงการว่า ควรจะ คง ปรับ ขยายโครงการหรือควรหยุดโครงการตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือควรหยุดโครงการตามเวลา ที่กำหนดไว้ หรือควรยกฐานะเป็นโครงการประจำทำการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ ของปีการศึกษา 2556 ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2557 โดยด้านที่ทำการประเมินคือ การประเมิน ด้านผลผลิต ซึ่งหมายถึง ผลที่เกิดแก่นักเรียนในด้านคุณภาพของผู้เรียนตามเกณฑ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่นักเรียนได้รับจากโครงการและความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 3.3.1 ผู้ประเมินนำแบบสอบถามประเมินผลผลิตของโครงการแจกให้กับครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 จำนวน 620 ฉบับ ได้รับคืนมาจำนวน 620 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 3.3.2 ผู้ประเมินนำแบบสอบถามประเมินระดับความพึงพอใจผู้เกี่ยวข้องของโครงการแจกให้กับครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 จำนวน 620 ฉบับ ได้รับคืนมาจำนวน 620 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินนำแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Microsoft Excel) เกณฑ์การแปลความหมายข้อมูล การแปลความหมายข้อมูล โดยการคำนวณค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล จากนั้นจึงนำค่าเฉลี่ยมาแปลความหมาย โดยประยุกต์ใช้เกณฑ์ของพวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540 : 132–133) โดยกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูล ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.49 หมายถึง มีความสอดคล้อง/มีความเหมาะสม/ มีผลการปฏิบัติ/มีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.50 – 2.49 หมายถึง มีความสอดคล้อง/มีความเหมาะสม/ มีผลการปฏิบัติ/มีความพึงพอใจในระดับน้อย ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.50 – 3.49 หมายถึง มีความสอดคล้อง/มีความเหมาะสม/ มีผลการปฏิบัติ/มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49 หมายถึง มีความสอดคล้อง/มีความเหมาะสม/ มีผลการปฏิบัติ/มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.50 – 5.00 หมายถึง มีความสอดคล้อง/มีความเหมาะสม/ มีผลการปฏิบัติ/มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เกณฑ์การประเมินผลผลิตของโครงการ ในการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 ใช้เกณฑ์การประเมินผลผลิต ไว้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของการประเมินในแต่ละด้านต้องเท่ากับหรือมากว่า 3.50 2. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต้องน้อยกว่า 1.00 สรุปผลการประเมินโครงการ ได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 1) ครูผู้สอนผู้ดำเนินโครงการ ข้อมูลทั่วไปของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการที่ตอบแบบประเมิน ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.35 เป็นเพศชาย ร้อยละ 17.65 มีอายุ 51 - 60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 76.47 รองลงมาอายุ 31-40 ปี ร้อยละ 13.73 ด้านการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 84.31 รองลงมาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 15.69 และประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 30 ปีขึ้นไป มากที่สุด ร้อยละ 54.90 รองลงมา คือ ประสบการณ์ในการทำงาน 21-30 ปี ร้อยละ 25.49 2) นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.47 และเป็นเพศชาย ร้อยละ 36.53 และส่วนใหญ่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 20.00 รองลงมา กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 18.37 3) ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนที่ตอบแบบประเมิน ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.39 เป็นเพศชาย ร้อยละ 40.61 มีอายุ 31-40 ปี ร้อยละ 37.65 รองลงมา อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 26.84 ด้านการศึกษา ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 70.41 รองลงมาวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 27.96 และประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 40.20 รองลงมาอาชีพค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 26.84 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ตอบแบบประเมิน ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 76.92 และเป็นเพศหญิงร้อยละ 23.08 มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 61.54 รองลงมา อายุ 41-50 ปีร้อยละ 23.08 ด้านการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 53.85 รองลงมา ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 38.46 และประกอบอาชีพค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 84.62 รองลงมาประกอบอาชีพรับราชการร้อยละ 15.38 ผลการประเมิน ด้านบริบทของโครงการ ผลการประเมินตามระดับความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านบริบทของโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.41, S.D.=0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีหลักการการดำเนินการ ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.=0.58) รองลงมา คือ กิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการฯ ส่งเสริมให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.50, S.D.=0.51) ส่วนกิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการฯ ส่งเสริมให้ระบบดูแลช่วยนักเรียนของโรงเรียนมีประสิทธิภาพ และ เกิดประสิทธิผลได้ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( =4.24, S.D.=0.62) อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.12, S.D.=0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการในด้านบุคลากร ในภาพรวม อยู่ระดับมาก ( =4.36, S.D.=0.53) เมื่อพิจารณาในความพร้อมด้านบุคลากรของผู้บริหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.35, S.D.=0.54) และเมื่อพิจารณาความพร้อมด้านบุคลากร ของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.37, S.D.=0.52) 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการในด้านงบประมาณ โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.55, S.D.=0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผนการใช้งบประมาณ ( =3.84, S.D.=0.64) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ งบประมาณที่โรงเรียนจัดให้ ( =3.52, S.D.=0.61) อยู่ในระดับมาก ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การได้รับสนับสนุนงบประมาณ/วัสดุอุปกรณ์จากหน่วยงานภายนอก ( =3.28, S.D.=0.73) อยู่ในระดับปานกลาง 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการในด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( =4.02, S.D.=0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ระยะเวลาดำเนินงาน ( =4.31, S.D.=0.50) รองลงมา คือ ข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการดำเนินงานพัฒนาส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ( =4.26, S.D.=0.53) และรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ/ เว็บไซต์ สำหรับการจัดกิจกรรม ( =3.80. S.D.=0.67) 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการในด้านระยะเวลาดำเนินงาน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( =4.31, S.D.=0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการ ( =4.36, S.D.=0.48) รองลงมา คือ ความเหมาะสมของปฏิทินปฏิบัติงาน ( =4.30, S.D.=0.46) และรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การวางแผนและความยืดหยุ่นของเวลา ในการดำเนินงาน ( =4.26, S.D.=0.56) ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ผลวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินตามระดับความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการของโครงการ ผลประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.23, S.D.=0.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายกระบวนการ พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ในส่วนของการประเมินขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.22, S.D.=0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน พบว่า 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็นของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการ ในส่วนกระบวนการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมทั้งระบบ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ( =4.24, S.D.=0.58) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ผลวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินตามระดับความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.11, S.D.=0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายผลผลิต พบว่า 1) ผลวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินตามระดับความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลผลิตของโครงการ ในส่วนของคุณภาพผู้เรียน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.04, S.D.=0.68) 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินตามระดับความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลผลิตของโครงการ ในส่วนของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13, S.D.=0.61) 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินตามระดับความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในส่วนของบุคลากร โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( =4.22, S.D.=0.77) 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความพึงพอใจตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ในด้านที่นักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ โดยภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =3.97, S.D.=0.70) ผลการประเมินในภาพรวมของโครงการ ผลการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 ในภาพรวมรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านบริบทของโครงการ โดยผลประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.41, S.D.=0.54) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ของโครงการ ผลประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.23, S.D.=0.58) และด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.12, S.D.=0.57) ส่วนด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( =4.11, S.D.=0.65) อยู่ในระดับมาก อภิปรายผล จากผลการประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 ตามระดับความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้ผลการประเมินตามรูปแบบการประเมินแบบซิปในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านนั้น นับว่าสอดคล้องกับมีวัตถุประสงค์ของโครงการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547 : 5-6) ที่กำหนดไว้ คือ 1) เพื่อให้โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีกระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ 2) เพื่อส่งเสริมให้ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานและองค์กรภายนอกมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพ เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา และสอดรับกับสภาพการดำเนินงานจริงของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะทางโรงเรียนได้มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องมากกว่าสิบปีนับแต่เข้าร่วมโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ กลไกและระบบของโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ปีการศึกษา 2556 จึงได้ผลการประเมินในภาพรวมในระดับมากทุกด้าน และสามารถคาดคะเนได้ว่า ถ้าคณะกรรมการดำเนินงานมีความเข้มแข็งและสามารถสร้างเครือข่ายกับองค์กรและชุมชนได้มากยิ่งขึ้น ประสานความร่วมมือด้านงบประมาณและสื่อ วัสดุอุปกรณ์มากยิ่งขึ้น ภายใต้กระบวนการดำเนินงานและระบบที่อยู่ในระดับมากนี้ ก็เชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถยกระดับผลการประเมินโครงการให้ขึ้นไปในระดับมากที่สุดได้ในปีการศึกษาต่อๆ ไป สำหรับการอภิปรายผลในรายด้านสามารถแยกพิจารณาอภิปรายผลในประเด็นที่ค้นพบจากการประเมินเป็นรายการในแต่ละด้านตามรูปแบบการประเมินโครงการ ดังต่อไปนี้ 1. ด้านบริบทของโครงการ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในการประเมินเกี่ยวกับสภาพบริบทในการดำเนินงานโครงการ ส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องจาก หลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของโครงการที่กำหนดขึ้นนั้น ผู้บริหารและครูได้ มีการวิเคราะห์สภาพความพร้อมพื้นฐานของโรงเรียนในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านสภาพบริบทอย่างเป็นระบบ โดยเป็นไปตามกรอบนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547 : 5-6) ที่กำหนดให้โรงเรียนได้พัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ และโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ได้ดำเนินการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รวมถึงกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายและโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองรับแผนงานอย่างเป็นระบบตามหลักการที่โครงการกำหนด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 13) ผลการประเมินที่จึงอยู่ในระดับมาก และอันสะท้อนถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพตามตัวบ่งชี้ด้านบริบทที่โครงการกำหนด ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ให้มีการส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตาม ศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง โรงเรียนจึงได้กำหนดหลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ซึ่งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนทุกคนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคม ดังนั้น การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ในปีการศึกษา 2556 จึงเป็นระบบที่มีหลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนจนได้ผลการประเมินในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของชุติมา พงษ์เกษ (2552 : 109) ที่ทำการศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับสุรีย์ เกิดในหล้า (2553 : 49) ที่ได้ศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทัพราชวิทยา จังหวัดสระแก้ว 2. ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ 1) ความพร้อมด้านบุคลากร ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมด้านบุคลากรโดยภาพรวมและในทุกละรายการอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของชุติมา พงษ์เกษ (2552 : 109) ที่ทำการศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับสุรีย์ เกิดในหล้า (2553 : 49) ที่ได้ศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทัพราชวิทยา จังหวัดสระแก้ว ทั้งนี้อาจเนื่องจากผู้บริหารและครูที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานมีความชำนาญเนื่องจากปฏิบัติงานโครงการมาอย่างต่อเนื่องนับสิบปี ประกอบกับนโยบายของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาบุคลากรโดยการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและรับการนิเทศติดตามการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจากสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นอย่างดี และโรงเรียนมีผู้บริหาร ที่เอาใจใส่ ในการบริหารจัดการโครงการนี้เป็นอย่างดี คอยกำกับ ติดตามและนิเทศอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานและแบ่งงานมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ผลการประเมินด้านบุคลากรจึงอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของชุติมา พงษ์เกษ (2552 : 109) ที่ทำการศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของสุรีย์ เกิดในหล้า (2553 : 49) ที่ได้ศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทัพราชวิทยา จังหวัดสระแก้ว 2) ความพร้อมด้านงบประมาณ ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมด้านงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของชุติมา พงษ์เกษ (2552 : 109) ที่ทำการศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของสุรีย์ เกิดในหล้า (2553 : 49) ที่ได้ศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทัพราชวิทยา จังหวัดสระแก้ว โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียนจำนวนมาก จึงได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ ประกอบกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเห็นความจำเป็นและความสำคัญของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจึงมีการวางแผนจัดหางบประมาณแบบมีส่วนร่วม ทั้งจากเงินประมาณและจากการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยการระดมทรัพยากรเป็น ค่าตรวจสารเสพติด การเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน และจากองค์กรภายนอกอื่นอย่างเพียงพอ ส่วนรายการด้านงบประมาณที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การได้รับสนับสนุนงบประมาณ/วัสดุอุปกรณ์จากหน่วยงานภายนอก ( =3.28, S.D.=0.73) อยู่ในระดับปานกลาง นั้น สะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ยังขาดการระดมทรัพยากรสนับสนุนด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์จากหน่วยงานภายนอก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะการที่โรงเรียนมีงบประมาณของรัฐสนับสนุนที่เพียงพอ จึงไม่ประสงค์จะรบกวนจากองค์กรภายนอก และชุมชนท้องถิ่น 3) ความพร้อมด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์และสารสนเทศ ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์และสารสนเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ โรงเรียนได้จัดเตรียมสื่อวัสดุปกรณ์ และข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการดำเนินงานพัฒนาส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อาทิ เอกสารแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารคู่มือวิทยากรเครือข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วีซีดีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วีซีดีกรณีศึกษาเด็กชายบุญชัยและตัวอย่างการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2547 : บทนำ) พร้อมนี้โรงเรียนได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ปฏิทินปฏิบัติงาของโรงเรียนและจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในโรงเรียนที่ครูผู้ดำเนินโครงการสามารถค้นหาข้อมูลความรู้ภายในโรงเรียนได้ตลอดเวลา จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ความพร้อมด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสารสนเทศของโรงเรียน มีความพร้อมระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของชุติมา พงษ์เกษ (2552 : 109) ที่ทำการศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของสุรีย์ เกิดในหล้า (2553 : 49) ที่ได้ศึกษาการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทัพราชวิทยา จังหวัดสระแก้ว โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 4) ความพร้อมด้านระยะเวลาดำเนินงาน ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ตอบแบบสอบถมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมด้านระยะเวลาดำเนินงาน โดยภาพรวมและทุกรายการอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากในการจัดทำโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คณะกรรมการดำเนินงานได้มีการประชุมวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยการวิเคราะห์สภาพปัญหา กำหนดเป้าหมาย การกำหนดกิจกรรมและแผนการดำเนินงาน กำหนดปฏิทินปฏิบัติงานกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนร่วมกัน และมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ 3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ 1) ขั้นตอนการดำเนินงาน ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของขั้นการดำเนินงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ทั้งด้านเตรียมการ ขั้นการดำเนินงานและขั้นการประเมินผล สรุปผลและรายงาน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีการศึกษาวิเคราะห์สภาพพื้นฐานเพื่อวางแผนดำเนินงาน มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงาน กำหนดบทบาทผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน จัดการประชุม ชี้แจง สร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงาน และนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงานอย่างต่อเนื่อง 2) กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้านได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข และการส่งต่อนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่โรงเรียนได้จัดการอบรมให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูล ความรู้แก่ครูผู้ดำเนินโครงการการในเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยเฉพาะเกี่ยวกับทักษะ การปรึกษาเบื้องต้นและแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆของนักเรียน มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและวางแผนแก้ไขและจัดกิจกรรมส่งเสริมร่วมกัน โดยให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจส่งผลให้การปฏิบัติงานตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปด้วยเหมาะสมระดับมากสอดคล้องกับประเสริฐ สวนจันทร์ (2553 : 97) ได้ทำการศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 และพรพิศ นาถมกอง (2554 : 111) ได้ทำการศึกษาการดำเนินเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 และยังสอดคล้องกับเรืองยศ อุตรศาสตร์ (2546) ที่ได้ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น พบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับดังนี้ ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งต่อและด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ส่วนผลการศึกษาของนฤบล กองทรัพย์ (2556) ได้ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 พบว่า โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 มีระดับ การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่ออยู่ในระดับปานกลาง 4. ด้านผลผลิตของโครงการ 1) ด้านคุณภาพนักเรียน พบว่า ความคิดเห็นต่อคุณภาพนักเรียนของผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและแต่ละรายการ สอดคล้องกับที่พรพิศ นาถมกอง (2554 : 111) ได้ทำการศึกษาการดำเนินเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 มีข้อค้นพบ คือ การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับที่ประเสริฐ สวนจันทร์ (2553 : 97) ได้ทำการศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 พบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการดำเนินงานระบบดูและช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ได้มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นผู้ดำเนินโครงการถือว่าเป็นบุคลากรหลัก ในการจัดกิจกรรมการส่งเสริม การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสามารถผ่านวิกฤตทั้งปวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สำนักงานคณะกรรมกการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 5) โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ครูมีการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล นำมาวิเคราะห์เพื่อคัดกรองนักเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกัน และแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกทาง มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาเพื่อดำเนินงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหาที่เปลี่ยนไป จัดกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในด้านต่างๆ อาทิ การรู้จักตนเอง การรู้จักผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม มีทักษะการตัดสินใจ ทักษะการปรับตัวและการวางแผนชีวิต (กรมสามัญศึกษา, 2544 : 20) 2) ด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ความคิดเห็นต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและรายเรื่องทุกเรื่อง ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากโรงเรียนได้มีการจัดการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน มีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครู ที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลภายนอก ผู้บริหารทุกระดับของโรงเรียน ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ครูทุกคนมีความตระหนักในความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีทัศนคติที่ดีและมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนทุกด้าน คณะกรรมการและคณะทำงานทุกคณะ มีการประสานงานและมีการประชุมทำความความเข้าใจกันอย่างสม่ำเสมอ (กรมสามัญศึกษา, 2544 : 4) มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานระบบช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้การประชุมปฏิบัติการและการนิเทศแบบมีส่วนร่วมได้พัฒนากิจกรรมส่งเสริมนักเรียนโดยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการสภาพปัญหาที่เปลี่ยนไป จึงทำให้กระบวนการดำเนินงานของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูหลังการดำเนินโครงการมีระดับความพึงใจสูงขึ้น สอดคล้องกับ อนันต์ เพียรเกาะ (2548) ที่ได้ศึกษา การพัฒนาการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน ปักธงชัยประชานิรมิต จังหวัดนครราชสีมา พบว่า การพัฒนาการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ คือ การประชุมปฏิบัติการ และการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ทำให้ครูผู้ดำเนินงานมีการปรับปรุงการดำเนินงานทุกขั้นตอน มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบนักเรียนได้รับการเอาใจจากครูดีขึ้นและเป็นที่พึงพอใจของนักเรียน และสอดคล้องกับที่พรพิศ นาถมกอง (2554 : 111) ได้ทำการศึกษาการดำเนินเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 มีข้อค้นพบ คือ การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาที่ประเสริฐ สวนจันทร์ (2553 : 97) ได้ทำการศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 พบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตามลำดับ 2) ด้านบุคลากร พบว่า ความคิดเห็นต่อบุคลากรของผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและรายเรื่องทุกเรื่อง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ผู้บริหารเห็นความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและนิเทศติดตามร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างสม่ำเสมอทำให้บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความรู้ความเข้าในการดำเนินงาน เกิดเจคติที่ดีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความรัก ความเอื้ออาทรและเข้าใจนักเรียนและที่สำคัญ คือ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเน้นการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะทีมทำในระดับครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาที่มีบทบาทในการพัฒนากิจกรรมต่างๆให้มีคุณภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 11) สอดคล้องกับสำราญจิต สุระพร (2546) ที่ได้ศึกษาการพัฒนาการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนนาไคร้พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธ์ พบว่า การพัฒนาการปฏิบัติงานของครู อาจารย์ ที่ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้แนวทางการพัฒนา คือ การประชุมชี้แจง แนวทางการปฏิบัติงาน การจัดทำและมอบเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน การศึกษาดูงาน และ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้ช่วยให้ครู อาจารย์ ที่ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษา มีการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้เกิดจากการร่วมมือกันของครู อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนทุกคนเป็นอย่างดี สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเองจนประสบความสำเร็จได้ 5. ด้านความพึงพอใจ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการมีความพึงพอใจต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน อนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกรายการนั้น ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ปกครองนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข ปัญหาของบุตรหลาน เช่น การจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom meeting) โดยครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา นำกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ปกครอง ตระหนักในความรับผิดชอบและต้องการปรับปรุง แก้ไขในส่วนที่บกพร่องของนักเรียนร่วมกับทางโรงเรียน ระมัดระวังการแสดงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางลบหรือการต่อต้านจาก ผู้ปกครอง เช่น การตำหนินักเรียนหรือผู้ปกครอง การแจ้งข้อบกพร่องของนักเรียนในที่ประชุม โดยใช้คำพูดที่แสดงถึงความเข้าใจในตัวนักเรียน แสดงถึงความห่วงใย เอาใจใส่ของครูครูที่มีต่อนักเรียนทุกคน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547 : 36) ส่งผลให้ผู้ปกครองเกิดพฤติกรรมความพึงพอใจต่อระบบดูแลช่วยนักเรียนของโรงเรียนในระดับมากและให้ความร่วมมือ สนับสนุน ให้โรงเรียนดำเนินกิจกรรมตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับทักษิณ ทักษิมา (2547) ที่ได้ศึกษา การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า เครือข่ายผู้ปกครองส่วนใหญ่ เห็นว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการให้ต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา เพราะปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุนักเรียนให้หลงผิดมากขึ้น จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเกิดขึ้น พร้อมนี้ผู้ศึกษายังพบว่า มีบางประเด็นที่ต้องพัฒนาต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จะช่วยพัฒนาความสามารถนักเรียนและกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะทั่วไป 1) ครูผู้ปฏิบัติงานโครงการควรจัดให้มีการสะท้อนผลการประเมินโครงการและพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลการประเมินในครั้งนี้ไปปรับปรุงพัฒนาในการดำเนินโครงการของปีการศึกษาถัดไป โดยเฉพาะการมุ่งเน้นยกระดับผลการประเมินในด้านผลผลิตของโครงการ 2) ผู้บริหารโรงเรียนบริหารจัดการให้ ชุมชน หน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายโครงการส่งเสริมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มากขึ้น ทั้งในขั้นการวางแผน การดำเนินการพัฒนา การจัดกิจกรรมและการประเมินผลโครงการ สามารถช่วยให้ การบริหารโครงการมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมถึงผลการประเมินผลโครงการ มีระดับการประเมินที่สูงขึ้นด้วย 3) ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรกำหนดให้โครงการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูและแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นนโยบายสำคัญของเขตพื้นที่การศึกษา จัดระบบนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูและแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อยกระดับผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและส่งเสริมกลไกการขับเคลื่อนนโยบายอย่างเป็นระบบ 2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ 2) ควรมีการศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน 3) ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา หรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ควรศึกษาความสัมพันธ์ผลการประเมินโครงการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนกับคุณภาพของผู้เรียนตามผลการประเมินระดับชาติต่างๆ บรรณานุกรม คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. 2547. แนวทางการดำเนินงานระบบการช่วยเหลือ นักเรียน ในสถานศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, _______. 2547. คู่มือการประเมินสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2547. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์. _______. 2556. รายงานการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2556. กรุงเทพฯ : ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. _______. 2557. รายงานการดำเนินงานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ : ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. ชุติมา พงษ์เกษ. 2552. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ทักษิณ ทักษิมา. 2547. การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน เมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. นฤบล กองทรัพย์. 2556. การดาเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ประเสริฐ สวนจันทร์. 2553. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. พรพิศ นาถมทอง. 2554. การศึกษาระดับการปฏิบัติการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2555. หลักการวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. 2554. CCPR กรอบคิดใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546. เรืองยศ อุตรศาสตร์. 2546. การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของครูที่ปรึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สุรีย์ เกิดในหล้า. 2553. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทัพราชวิทยา จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2552. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2553. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ ปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค. สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2550. การจัดการเรียนรู้แบบ กระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สำราญจิต สุระพร. 2546. การพัฒนาการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน นาไคร้พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. สาระนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. 2544. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. อนันต์ เพียรเกาะ. 2548. การพัฒนาการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนปักธงชัย ประชานิรมิตอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. อนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม), โรงเรียน. 2557. รายงานการประเมินตนเองของโรงเรียน อนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม) ประจำปีการศึกษา 2556. นครสวรรค์ : ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม). Guskey, T.R. 2008. Evaluation professional development. California : A Sage Publication Company. Stufflebeam, D.L. 2001. Evaluation Models. San Francisco : Jossey-Bass.